ศิริวรรณ ศิริบุญ
บทคัดย่อ
ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ริมคลองแสนแสบ เป็นชุมชนที่ตั้งมานานกว่า 200 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดทุนนิยม การสร้างถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนสุขุมวิทได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งจำนวน ความหลากหลายของประชากร และปัญหาสังคมนานาประการ คลองแสนแสบทำหน้าที่เป็นเสมือนปราการด่านสุดท้ายที่ป้องกันชุมชนจากปัจจัยคุกคามภายนอก อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางกายภาพเพียงประการเดียว ไม่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน กลไกทางสังคมอันประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) ระบบคุณค่าและองค์กรทางสังคม 2) ทุนทางเศรษฐกิจ และ 3) ทรัพยากรบุคคล ทำหน้าที่เป็นปัจจัยหลักของการธำรงความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้แนะว่า ถึงแม้ชุมชนจะมีความเข้มแข็ง แต่ชุมชนแต่ละแห่งไม่สามารถดำรงอยู่ในรูปแบบของสังคมปิดได้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การทำงานในรูปของหุ้นส่วนหรือภาคี และการดำเนินกิจกรรมชุมชนในรูปของการมีส่วนร่วม โดยเริ่มตั้งแต่การยุติการทำงานแบบรวบอำนาจ การดำเนินงานตามแนวดิ่ง หรือการทำงานแบบมี “พิมพ์เขียว” จะทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดสำนึกของการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่พร้อมจะร่วมกันแก้ไขและพัฒนา ทั้งในเชิงของความคิดและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 25-58)
Social mechanism that lead to the strengthening of the community under the population dynamic : Case Study of Surao Ban Don Community
Siriwan Siriboon
Abstract
Surao Ban Don Community was settled in Bangkok more than 200 years ago. The community is situated on the banks of the Saensaeb Canal. The economic development of Bangkok under the concept of capitalism, which can be found in the construction of Phetchaburi Road and Sukhumvit Road, led to a drastic change in the size of the population, population diversity and community disorder. Saensaeb Canal acted as the last stronghold to protect the community from external threat.
This study suggests that community sustainability cannot rely solely on physical advantages. Social mechanisms as measured in terms of three components, namely, a value system, economic capital and human resources, are the key factors for community solidarity. In addition, it is suggested that although a community is strengthened, each community cannot exist in the form of a closed society. The process of co-management should be channeled from the individual level, community organizations or groups within the community up to network building outside the community. Cooperation among households, schools and temples or mosques are the key success factors in strengthening public participation. Strategies in terms of top-down management should be reformed to bottom-up management. There is no specif ic model for co-management. Co-management varies with the unique conditions and characteristics of each area. The same basic “blue print” cannot be drawn. Joining in any community activities should be restructured from cooperation to participation. Participation means thinking, planning and working together. Community participation is a signif icant social mechanism for sustainable development.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 25-58)
บทความ / Full Text : Download