การพากย์-เจรจาหนังใหญ่ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่กำลังเลือนหาย

รัตนพล ชื่นค้า

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาองค์ความรู้เรื่องการพากย์-เจรจาหนังใหญ่ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูวีระ มีเหมือน ครูผู้สืบทอดการพากย์-เจรจาหนังใหญ่จากหม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ ในสายของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูวีระ มีเหมือนเป็นคนพากย์-เจรจาหนังใหญ่ตามแบบแผนโบราณเพียงคนเดียวในปัจจุบันที่รักษาองค์ความรู้นี้ไว้

 

ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้เรื่องการพากย์-เจรจาหนังใหญ่ ประกอบด้วย ขั้นตอนการฝึกพากย์-เจรจาหนังใหญ่ การเจรจากระทู้และการเจรจาลอยดอก หลักการ ฝึกพากย์-เจรจาหนังใหญ่ทั้งหมด ๘ ข้อ ได้แก่ การฝึกใช้ฉันทลักษณ์ การฝึกประคบคำ การฝึกประคบเสียง การฝึกแบ่งพยางค์ การฝึกกระหนกคอ การฝึกผูกคำเจรจา การฝึกว่าทำนองพากย์-เจรจา การฝึกใช้สำเนียงพากย์-เจรจา ผู้วิจัยพยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้เรื่องการพากย์-เจรจาหนังใหญ่ในฐานะเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 123-150) 

 

 

The Recitation and Intoned Conversation of Nang Yai : The Fading Intellectual Cultural Heritage

 

Rattanaphon Chuenka

 

Abstract

 

This research aims to study the knowledge of the recitation and intoned conversation of Nang Yai (Large Shadow Puppet). The researcher interviewed Master Vira Mimuean who conserves and transmits the recitationintoned conversation style of Nang Yai from Master M.R. Charoonsawat Suksawat of Phraya Natthakanurak (Thongdee Suvarnaparata)’s school. At present, Master Vira Mimuean is the only one who has kept the traditional voice and Nang Yai recitation.

 

From the research, The researcher discovered that the knowledge of recitation-intoned conversation is composed of the practicice of recitationintoned conversation of Nang Yai, Kratoo and Loy dok conversation. There are eight steps in the recitation and intoned conversation which are Recognizing the prosody, Word compresses, Voice compresses, Dividing syllables, Using neck, Compounding conversation, Recognizing melodies, Recognizing intonations. The research focuses on the importance of the recitation and intoned conversation of Nang Yai in terms of the intellectual cultural heritage of the nation.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 123-150)

 

บทความ / Full Text : Download