งานบุญแปดหมื่นสี่พันขันธ์ : สัญลักษณ์ในพิธีกรรมประดิษฐ์จากคัมภีร์ใบลาน

พิเภก เมืองหลวง

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษามโนทัศน์ (Concept) และสัญลักษณ์ (symbol) ในการสร้างพิธีกรรมในงานบุญแปดหมื่นสี่พันขันธ์ที่บ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่างานบุญดังกล่าวเป็นพิธีกรรมประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการนำความรู้ ความคิด ความเชื่อที่หลากหลายจากคัมภีร์ใบลานเรื่องแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์มาสร้างพิธีกรรมและสร้างบรรยากาศแห่งความศักดิ์สิทธิ์ในพิธี คัมภีร์ใบลานจึงไม่ได้เป็นเพียงตัวบท (Text) ประกอบพิธีกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นที่มาของการสร้างมโนทัศน์ในการประดิษฐ์พิธีกรรม ทั้งการจัดแต่งเครื่องประกอบพิธี การปฏิบัติตนในพิธี นอกจากนี้คัมภีร์ใบลานยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์สองประการคือ เป็นสัญลักษณ์ของความดีงาม และสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2555) หน้า 69-86) 

 

 

The Merit-Making of 84,000 Dharma: Symbols in the Invented Ritual from a Buddhist Palm Leaf Manuscript

 

Piphek Muangluang

 

Abstract

 

This paper aims at studying the concept and symbols in Bun Paed Muen Siphan Khan at Tha Muang Village, Selaphum District, Roi-Et province. The study indicates that Bun Paed Muen Siphan Khan is an invented ritual based on the knowledge, the thoughts and the Buddhist belief from the Buddhist palm leaf manuscript entitled, Paed Muen Siphan Khan. The palm leaf manuscript is not only the text recited, in the ritual, but also the source of the concepts in inventing the ritual objects and the ritual acts performed in this new Buddhist ritual. Moreover, this Buddhist palm leaf manuscript provides a symbolic meaning in the sense that it is the symbol of virtue and sacredness of Buddhism.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 1 (February – July 2012) Page 69-86)

 

บทความ / Full Text :  Download