จุลกฐินวัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ จังหวัดยโสธร : การรื้อฟื้นและประดิษฐ์สร้างพิธีกรรมในปัจจุบัน

สุรชัย ชินบุตร

 

บทคัดย่อ

 

บ้านสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เดิมชื่อบ้านสิงห์โคก เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ โดยการนำของพระวอ ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรื้อฟื้นประเพณีการทำบุญจุลกฐินของชาวบ้านโดยเพิ่มเติมขั้นตอนของพิธีกรรมอย่างหลากหลาย และศึกษาบทบาทของประเพณีจุลกฐินที่มีต่อชาวบ้านสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผู้วิจัยพบว่า ในอดีตประเพณีการถวายผ้าจุลกฐินมีวัตถุประสงค์เพื่อการได้รับอานิสงส์อย่างยิ่งใหญ่ และสิ่งที่พบอีกอย่างคือ เป็นการสร้างประเพณีขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ และความชอบธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าภาพที่สร้างจุลกฐิน ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าประเพณีจุลกฐินของชาวบ้านสิงห์เป็นประเพณีที่ประดิษฐ์และสร้างขึ้นใหม่โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ประเพณีจุลกฐินยังเปลี่ยนบทบาทจากการถวายผ้ากฐินตามฮีตประเพณีเดิม เป็นการระดมทุนเพื่อใช้ในสร้างสาธารณสมบัติของวัด เช่น การสร้างศาลา การสร้างอุโบสถ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้ทุนมาก เกินกำลังที่วัดจะดำเนินการได้ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงต้องมีการระดมทุนเพื่อให้ภารกิจนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี ในการระดมทุนของวัดและชาวบ้านนั้นมีทั้งที่ระดมจากภายในหมู่บ้านและภายนอกหมู่บ้าน การศึกษาเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงการประดิษฐ์พิธีกรรมเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และความชอบธรรมแก่เจ้าภาพผู้สร้างถวายผ้าจุลกฐิน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 165-195) 

 

 

Chula Kathin Festival at Sri That Temple of Singh Village Yasothon province : The Current Revitalization and Invention of the Ritual

 

Surachai Chinnabutr

 

Abstract

 

Singh village, formerly known as Singh Khok, of Mueang district, Yasothon province, has been established by a group of Lao people, led by Phra Wo, emigrating to Champasak of Lao People’s Democratic Republic. This article aims at examining the revitalization of the Chula Katin Z Buddhist robe – offering ) festival, with the addition of several new ritual processes, held by the Singh villagers and to study the function of the festival for the villagers. According to the study, the purpose of the robe – offering festival in the past is to earn great merit. Another finding is that he festival is invented for the sacralization and justification of its hosts. Therefore, it can be believed that the Chula Kathin festival held by Singh villagers is the tradition newly invented by a group of people to achieve their goal . Moreover, the festival’s purpose is changed from traditional robe-offering to money – gathering for the construction of monastery’s public property such as a pavilion or a consecrated assembly hall. These need so much capital for the construction that the temple authority cannot afford to do. Thus’ the authority and villagers have to gather money from inside and outside their village in order to complete their task. This study reflects about the invention of ritual for the sacralization and justification of the hosts who offer the robe.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 165-195)

 

บทความ / Full Text : Download