การวิเคราะห์ชื่อสร้อยของประชาชนจังหวัดเชียงราย

สุทธา รัตนศักดิ์ และ พรรณวดี รัตนศักดิ์

 

บทคัดย่อ

 

การวิเคราะห์ชื่อสร้อยของประชาชนจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ที่มาของชื่อสร้อย และทัศนคติที่สะท้อนมาจากการตั้งชื่อสร้อยของประชาชนในตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้มาโดยวิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามของผู้ให้ข้อมูล จาก 11 หมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 4 คน รวม 44 คน ให้ข้อมูลชื่อสร้อยคนละ 10 รายชื่อ จากจำนวนประชากรจำนวน 13,421 คน ได้ชื่อสร้อยจำนวน 440 รายชื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการวิเคราะห์ชื่อสร้อยของประชาชนจังหวัดเชียงราย 

 

ผลการวิจัยพบว่าชื่อสร้อยของบุคคล มีที่มาจากสาเหตุ 7 ประการ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ แบ่งเป็นรูปร่าง และอวัยวะ พบ 172 รายชื่อ (ร้อยละ 39.10) ลักษณะของพฤติกรรมแบ่งเป็นเชิงบวกและเชิงลบ พบ 143 รายชื่อ (ร้อยละ 32.50) การประกอบอาชีพ แบ่งเป็นชื่อสินค้า ลักษณะของงานและการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ พบ 67 รายชื่อ (ร้อยละ 15.22) พื้นฐานครอบครัว แบ่งเป็น บุคคลใกล้ชิด ลำดับเครือญาติ และเชื้อชาติหรือศาสนา พบ 26 รายชื่อ (ร้อยละ 5.90) สถานที่ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็นตำแหน่งของที่อยู่อาศัยลักษณะของพื้นที่และภูมิลำเนา พบ 14 รายชื่อ (ร้อยละ 3.18) เหตุการณ์สำคัญ แบ่งเป็นชื่อเดิม และเหตุการณ์ในอดีต พบ 11 รายชื่อ (ร้อยละ 2.50) สุดท้ายการใช้ภาษาเกิดจากการเล่นเสียงของพยางค์และคำ ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับตัวบุคคล แบ่งเป็น เพื่อเล่นเสียง และเพื่อสร้างคำผวน พบ 7 รายชื่อ (ร้อยละ 1.60) 

 

ผลการวิเคราะห์ทัศนคติของบุคคลในการตั้งชื่อสร้อย พบทัศนคติเชิงลบมากที่สุด จำนวน 287 รายชื่อ (ร้อยละ 65.22) เป็นชื่อสร้อยที่มาจากลักษณะทางกายภาพ ลักษณะของพฤติกรรม เหตุการณ์สำคัญ และการใช้ภาษา พบทัศนคติที่ไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 115 รายชื่อ (ร้อยละ 26.13) เป็นชื่อสร้อยที่มาจากการประกอบอาชีพ พื้นฐานครอบครัว สถานที่ที่เกี่ยวข้อง การใช้ภาษา และเหตุการณ์สำคัญ
พบทัศนคติเชิงบวกน้อยที่สุด จำนวน 38 รายชื่อ (ร้อยละ 8.63) เป็นชื่อสร้อยที่มาจากลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ และเหตุการณ์สำคัญ ตามลำดับ

 

ในส่วนของการใช้สำนวนภาษานั้นพบว่า มีการใช้สำนวนภาษาในการตั้งชื่อสร้อย ทั้งภาษาไทยกลางและภาษาไทยเหนือ พบทั้งแบบที่ต้องแปลความหมายนัยตรง และตีความหมายตามนัยประหวัดของเฉพาะบุคคล ส่วนการใช้พยางค์ คำ หรือวลีที่เหมือนกัน แต่ในเชิงความหมายนั้นอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของบุคคลหรือสถานการณ์ นอกจากนี้ชื่อสร้อยยังสะท้อนบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เรื่องการให้ความสำคัญกับลำดับความอาวุโสในครอบครัว ระบบเครือญาติ บทบาทหน้าที่ของบุคคลในชุมชน และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ 

 

คำสำคัญ : ชื่อสร้อย ประชาชน เชียงราย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559) หน้า 57-90) 

 

 

An Analysis of Characterized Names of People in Chiang Rai

 

Suttha Rattanasak and Panwadee Rattanasak

 

Abstract

 

An analysis of characterized names of people in Chiang Rai aims at investigating the source of these names, how they were initiated, and the attitudes reflected from their characterized names in Tambon Tasud, Muang, Chiang Rai. The data was obtained from interviewing and questionnaires from respondents living in 11 villages, four respondents from each village, with the total number of respondents being 44. Each respondent gave 10 characterized names based on 13,421 villagers. The total number of characterized names was 440.

 

The results showed that the characterized names were derived from 7 reasons: physical appearance; behavior; careers; and metaphors; family background; nationality and religion; places; important events; and inflections. Physical appearance included shapes and body organs, with 172 characterized names found (39.10 %). Behaviors were classified into positive and negative behaviors, with 143 names found (32.50 %). Careers were classified into product names and job descriptions and metaphors, with 67 names found (15.22 %).

 

Family background was classified into intimates, relatives and nationality and religion, with 26 names found (5.90 %). Places were classified into location, geographical area, and originality, with 14 names found (3.18 %). Important events were classified into old names, and past events, with 11 names found (2.50 %). Lastly, inflections were classified into syllable inflection and word inflection which show no relationship with the person, but for transposition of the sounds and spoonerism, with seven names found (1.60 %).

 

The analysis from individual attitudes toward characterized names found that most characterized names were related to negative attitudes; approximately 287 characterized names (65.22 %) were derived from physical appearance, behaviors, important events, and language use. In addition, some characterized names were not related to any opinions; approximately 115 characterized names (26.13 %) were derived from careers, family background, places, language use and important events. Lastly, positive attitudes toward characterized names were found to be the least, with approximately 38 characterized names (8.63 %), and they were derived from behavior, physical appearance, and important events.

 

As for the use of language expressions, the characterized names both in standard Thai and northern Thai were literal meaning and figurative meaning of each character. The use of syllable, word or phrase may be different according to their circumstances or situations. Moreover, characterized names also reflect the social context and a culture of seniority in the family, family relations, personal roles in the community and diverse ethnicity.

 

Keywords : Characterized name, People, Chiang Rai 

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 12 Number 1 (January – June 2016) Page 57-90)

 

บทความ / Full Text : Download