บทพากย์-เจรจาหนังใหญ่วัดบางดอน จังหวัดระยอง : มรดกวรรณคดีการแสดของชาวบ้าน

รัตนพล ชื่นค้า

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของ บทพากย์-เจรจาหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง ซึ่งประกอบด้วย 1. บทพากย์-เจรจาตอนกำเนิดสองกุมาร ปล่อยม้าอุปการ พระบุตร-พระลบรบกับพระพรต-พระสัตรุด จนถึงพระรามเชิญนางสีดากลับเมือง สำนวนของนายเฉลิม มณีแสง 2. บทพากย์เกริ่นก่อนเริ่มการแสดง สำนวนของนายอำนาจ มณีแสง และ 3. บทเบิกโรงชุดจับลิงหัวค่ำ และบทเสภาประกอบการแสดง สำนวนของนายอำนาจ มณีแสง

 

ผลการศึกษาพบว่า บทพากย์-เจรจาหนังใหญ่ชุดดังกล่าวมีคุณค่าหลายประการในฐานะมรดกวรรณคดีการแสดงของชาวบ้าน ประการแรก แสดงให้เห็นลักษณะของการสืบทอดรูปแบบและเนื้อหาของบทพากย์-เจรจาหนังใหญ่แต่อดีต ได้แก่ การใช้ฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และร่ายยาว ในการดำเนินเรื่อง อีกทั้งเนื้อหาของบทพากย์ยังสัมพันธ์กับตัวหนังใหญ่ที่เหลืออยู่ ขณะที่บทเจรจามีลักษณะคล้ายบทสนทนาระหว่างตัวละคร มุ่งดำเนินเรื่องรวดเร็ว 

 

ประการที่สอง แสดงให้เห็นลักษณะของการสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหาของบทพากย์-เจรจาหนังใหญ่ขึ้นใหม่ โดยเพิ่มเติมฉันทลักษณ์ประเภทกลอนบทละครและกลอนเสภาเข้ามา นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อเพลงร้องประกอบการแสดงละครด้วย แสดงให้เห็นการผสมผสานระหว่างศิลปะการแสดงหนังใหญ่กับละครรำอย่างชัดเจน

 

บทพากย์-เจรจาหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นร่องรอยของวรรณกรรมมุขปาฐะก่อนพัฒนาเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ ดังพบว่า บทพากย์เมืองมีเนื้อความซ้ำกันหลายตอน บทเจรจามีขนาดสั้นเมื่อเทียบกับบทเจรจาหนังใหญ่สำนวนอื่นๆ จำนวนคำและสัมผัสตามข้อบังคับฉันทลักษณ์ของบทพากย์-เจรจาไม่เคร่งครัดและไม่สม่ำเสมอ สอดคล้องกับรูปแบบการแสดงหนังใหญ่ของชาวบ้านที่ให้ความสำคัญกับ “มุขปาฐะ” จึงทำให้มีการปรับบทไปตาม คนพากย์-เจรจา สะท้อนลักษณะเด่นของวรรณคดีการแสดงของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2557 – มกราคม 2558) หน้า 39-61) 

 

 

Nang Yai, Ban Don Temple, Rayong Province : Folk Performance Heritage

 

Rattanaphon Chuenka

 

Abstract

 

The purpose of this paper is to examine forms and contents of the narrations-negotiations in Nang Yai (large shadow puppets), Ban Don Temple, Rayong Province in the following episodes: 1) the birth of Phra Ram’s two sons, the performance of the horse sacrifice (a royal Vedic ritual known as Ashvamedha or “Upakara horse release” in Thai), the fight between the two sons of Phra Ram and their two uncles, Phra Phrot and Phra Satarut, up until Phra Ram invites Nang Sida to the return to Ayuthaya (all compose by Mr. Chalerm Maneesaeng); 2) the prologue, Mr. Amnat Maneesaeng’s version; 3) the prelude, chap ling huakham dance (with selection of either the white or the black monkey) and the additional sepha used in the performance, Mr. Amnat Maneesaeng’s version.

 

The study reveals various values of narrations-negotiations in the folk performance heritage. Firstly, there is evidence of the usage of Kap Yani 11, Kap Chabang 16 and Rai Yao that has continued from the past to today. The narrations are related to the ‘leftover leathers’, while the negotiations seem to be quick-performed dialogues among the characters.

 

Secondly, the research shows the creation of both form and content by adding klon bot lakhon and klon sepha together with mention of the names of songs, which indicates the integration between this performance and lakon ram (dance drama).

 

The narrations-negotiations in Nang Yai, Ban Don Temple is evidence of an oral literary tradition before the development of written literature as can be seen in the repetitions found in bot phakmuang (dialogue used in royal palace scenes), the shorter negotiating dialogues (compared with other versions) and the irregular narrations-negotiations. All of this reflects characteristics of an oral tradition through the adjustment of narrations-negotiations at the play speakers’ convenience.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 10 Number 2 (August 2014 – January 2015) Page 39-61)

 

บทความ / Full Text : Download