สุรชัย ชินบุตร
บทคัดย่อ
วรรณกรรมเป็นภาพสะท้อนของท้องถิ่นและเป็นเครื่องมือบอกเล่าประวัติ ความเป็นมาของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี อุรังคธาตุนิทานหรือตำนานพระธาตุพนมเป็นวรรณกรรมของการบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของพระพุทธเจ้าเข้าสู่ดินแดนล้านช้างทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง และอธิบายการเกิดสถานที่เคารพต่าง ๆ ในทางศาสนามากมาย บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสืบทอดนิทานอุรังคธาตุของภาคอีสาน และความสัมพันธ์ระหว่างนิทานอุรังคธาตุกับศาสนสถานที่ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในนิทานอุรังคธาตุ
ผลการศึกษาพบว่า อุรังคธาตุนิทาน ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยกวีของอาณาจักรล้านช้างโดยต้นฉบับเขียนลงใบลาน แต่นานเข้ากระจัดกระจายอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง ต่อมาพระยาศรีไชยชมพู อำมาตย์ในราชสำนักของพระเจ้าสุริยวงศา ได้นำมาเรียบเรียงใหม่ ซึ่งในระยะต่อมาได้รับการคัดลอกถ่ายถอดเป็นอักษรไทยปัจจุบัน หลายสำนวน ได้แก่ อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) อุรังคธาตุเทสนา อุรังคนิทาน(พิสดาร) ซึ่ง ฉบับหลัง ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ 11 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีนิทานอรุังคธาตุตัวอักษรลาวที่มีการพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสพิธีฌาปณกิจศพของพระสังฆราชลาว และมีการพิมพ์เผยแพร่กันอย่างแพร่หลายในโอกาสต่าง ๆ ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อุรังคธาตุนิทานยังได้กล่าวถึงสถานที่เคารพทางศาสนาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังสถานที่ใดก็ได้ประทับรอยเท้าไว้เป็นหลักฐาน อันเป็นการแสดงให้รับรู้กันว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายัง ณ สถานที่แห่งนี้ นอกจากนี้ยังพบว่านิทานอรุังคธาตุแต่งขึ้นเพื่อเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าสุริยวงศาธิราช พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้าง เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการครองราชย์สมบัติ การศึกษาเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาของคนในแถบลุ่มน้ำโขงต่อพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่นตลอดมา
คำสำคัญ : อุรังคธาตุ พระเจ้าเลียบโลก อีสานล้านช้าง
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559) หน้า 1-34)
Uranggadhat Nidana, Phra Chao Lieb Lok Legend of Isaan Lanxang Version: Inheritance and Creativity
Surachai Chinnabutr
Abstract
Uranggadhat Nidana or Phra That Phanom Legend, is part of the folk literary of Thai-Laos culture. The story explains the building of Phra That Phanom, along with the travels of Buddha into Lanxang kingdom along the banks of Maekong River and the placing of his footprints in many places. The article aims to study the inheritance of Uranggadhat in Isaan Region and the creation of legends in the context of Thai-Lao culture.
The results found that Uranggadhat Nidana was created by poets of the Lanxang Kingdom. Text was originally written on palm leaves but was lost someplace around the Maekong River. Phraya Sri Chai Chompu, the interior minister in the court of King Suriyawongsa, had it rewritten and translated. Lao manuscripts of Uranggadhat Nidana have been printed on the ocassion of cremation ceremony of the supreme patriarchs of Laos and have been widely published on several occasions of the people living on the left side of the Maekong River. Uranggadhat Nidana discusses many sacred religious places, explaining how when the Buddha went to any location, he imprinted his feet as evidence. Moreover, it was found that Uranggadhat Nidana was created as literature for celebrations. This study reflects that the people living around the Maekong River have had a strong belief in and respect for Buddhism.
Keyword : Uranggadhat Nidana, Phra Chao Lieb Lok, Isaan Lanxang, Inheritance
(Published in Journal of Thai Studies Volume 12 Number 1 (January – June 2016) Page 1-34)
บทความ / Full Text : Download