ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล
บทคัดย่อ
การขอพรเป็นเนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏในวรรณคดีไทย ซึ่งปรากฏรวมอยู่ในเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งของวรรณคดี เช่น ประณามพจน์ และปณิธานของกวี โดยนิยมขอพรให้แก่ตัวกวีหรือบทประพันธ์เป็นส่วนใหญ่ การขอพรในวรรณคดีไทยมักปรากฏในวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติ ซึ่งเป็นขนบการประพันธ์หนึ่งที่มีลักษณะน่าสนใจและสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน เนื้อหาการขอพรในวรรณคดียอพระเกียรติจะกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์ และบ้านเมืองกับประชาชน โดยมีวิธีการขอพรใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การขอพรแบบกล่าวแยกรายละเอียดขอพร และการขอพรแบบรวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์และคำขอพร การขอพรในวรรณคดียอพระเกียรติมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา กล่าวคือ การขอพรในวรรณคดียอพระเกียรติสมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 1 กวีจะให้ความสำคัญในการให้รายละเอียดถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระมหากษัตริย์ผู้รับพรอย่างมาก การขอพรในวรรณคดียอพระเกียรติสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 กวีจะให้รายละเอียดพระมหากษัตริย์มากกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะกล่าวถึงชื่อเท่านั้น ส่วนการขอพรในวรรณคดียอพระเกียรติสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน กวีจะขยายผู้รับพรจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวมาเป็นพระบรมวงศานุวงศ์และบ้านเมืองประชาชนมากขึ้น
คำสำคัญ : การขอพร, วรรณคดียอพระเกียรติ, ขนบการประพันธ์
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560) หน้า 73-100)
Blessing in Thai Panegyric Literature
Pattama Theekapraserlkul
Abstract
A blessing is one of contents in Thai literature which appears in some parts of a story such as invocation and intension of poet. It can be generally seen that the poet or the story are often blessed. A blessing in Thai literature often appears in panegyric literature which is a literary convention that is interesting as well as has been continued from Ayutthaya period to contemporary time. Contents of blessings in panegyric literature are composed of the holy thing, the king and the country with individuals. There are two attributes of blessings: the first is to describe the blessing in details, and the second is to include the holy thing and benediction in the blessing. Blessings in panegyric literature gradually change. That is to say, blessings in panegyric literature during Ayutthaya and Rama I period were focused on the details of the holy thing and the king is blessed. On the one hand, blessings in panegyric literature during Rama II and III period were emphasized on the king more than on the holy thing which was just mentioned only a name. Lastly, blessings in panegyric literature from Rama V to contemporary time have expanded the person who was blessed from the king to the royal family, country and individuals.
Keywords : blessing panegyric, literature literary, convention
(Published in Journal of Thai Studies Volume 13 Number 1 (January – June 2017) Page 73-100)
บทความ / Full Text : Download