การวิเคราะห์คำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาแนวคิดสิทธิมนุษยชน

ภาณุทัต ยอดแก้ว

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มุ่งหมายที่จะสร้างรูปแบบเพื่อใช้เป็นระบบจริยศาสตร์สิทธิมนุษยชนแนวพุทธที่สามารถไปไดกั้บคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยการพิจารณาข้อเสนอหลักธรรมของบรรดานักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก เช่น ศาสตราจารย์เดเมียน คีโอน (Damein Keown) ศาสตราจารย์เจ แอล การ์ฟิลด์ (Jay L. Garfield) ศาสตราจารย์แพทริค เฮเดน (Patrick Hayden) พระพีเรรา (L. P. N. Perera) ในบทความนี้ ภาณุทัต ยอดแก้วเห็นว่าทั้งสิทธิมนุษยชนและคำสอนทางพระพุทธศาสนาคล้ายคลึงกันในแง่ที่ว่าทั้งสองระบบส่งเสริมสันติภาพและการเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพื่อดูว่า เราสามารถสร้างแนวคิดสิทธิมนุษยชนในคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ขนาดไหน ผลการวิจัยแสดงว่า ตามบทวิเคราะห์ของพระสงฆ์เถรวาทของไทยที่เคยเขียนประเด็นสิทธิมนุษยชน เช่น พุทธทาสภิกขุ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปอ.ปยุตฺโต) และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เห็นว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชนได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนความกังวลใจของโลกเกี่ยวกับสันติภาพและสุขภาวะของมนุษย์ในช่วงหลังการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่สิทธิมนุษยชนนั้นยังไม่มีความดีระดับสูง หรือ “สัมมาปัญญา” 

 

งานวิจัยนี้พบว่าหากพิจารณาตามแนวคิดนิติปรัชญาตะวันตกที่เห็นว่าหน้าที่สร้างสิทธิ์ หน้าที่ดังที่สะท้อนอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาก็สามารถสร้างสิทธิ์และเสรีภาพได้อย่างไม่มีขอบเขต มัชฌิมาปฏิปทาสามารถช่วยเสริมคุณค่าในเรื่องความดีระดับสูงหรือแม้แต่พัฒนาหรือเติมเต็มแนวคิดสิทธิมนุษยชน การบูรณาการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับพุทธธรรมจึงถูกเสนอในนี้ในฐานะอีกทางเลือกทางทฤษฎีสำหรับสังคมพุทธ

 

คำสำคัญ : สิทธิมนุษยชน, พระพุทธศาสนา, วาทกรรม, มัชฌิมาปฏิปทา, มรรคมีองค์ 8, ไตรสิกขา, การบูรณาการ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561) หน้า 61-88) 

 

 

An Analysis of Buddhist Teachings for Developing the Concept of Human Rights

 

Panutat Yodkaew

 

Abstract

 

The article aims to create a Buddhist model of human rights by taking into consideration analyses given by world-famous scholars on the topic of “human rights and Buddhism”, such as Damein Keown, Jay L. Garfield, Patrick Hayden, and Perera. The author argues that the concept of human rights is similar to Buddhist teachings in that both are intended to promote peace and respect for human dignity. The research findings show that according to commentary given by Thailand’s leading Buddhist monks on the modern concept of human rights, the concept of human rights is well structured to express global concerns over human peace and wellbeing following the end of World War II, but is still devoid of what can be considered “the highest echelons of goodness/virtue” equivalent to the Buddhist notion of Samma Paññā.

 

The research findings reveal that based on a Western legal philosophical notion that duties entail rights, it is the duties echoed in the Buddhist concept of the Middle Path that can lead to unlimited rights and freedom. The Middle Path is found to be able to complement or even add the value of Buddhist ultimate good to the modern concept of human rights. Integration of the UN Universal Declaration of Human Rights, with some doctrines selected from the Buddhadhamma, has been proposed as another theoretical option for Buddhist society. 

 

Keywords : Human Rights, Buddhism, Discourse, the Middle Path, Threefold Learning, Integration

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 14 Number 2 (July – December 2018) Page 61-88)

 

บทความ / Full Text : Download