ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติ : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

สุภัทร แก้วพัตร

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนคนอีสานที่สื่อผ่านภาษาในหนังสือพิมพ์ระดับชาติระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 ตามแนวการศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยศึกษาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 จำนวน 1,924 ชิ้นงาน ผลการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ระดับชาติมีการใช้กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานที่สำคัญทั้งสิ้น 6 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้คำ/กลุ่มคำ 2) การใช้อุปลักษณ์ 3) การใช้มูลบท 4) การใช้โครงสร้างประโยคกรรม 5) การใช้สหบท และ 6) การใช้ค􀂱ำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีทางภาษาทั้งหมดนี้ได้นำเสนอภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ในแง่บุคลิกลักษณะและอุปนิสัย คือ คนอีสานรักศักดิ์ศรีและภูมิใจในท้องถิ่น คนอีสานอดทน และคนอีสานรักพวกพ้องและมีน้ำใจ 2) ในแง่เศรษฐกิจและสังคม คือ คนอีสานมีความรู้น้อยและด้อยโอกาส คนอีสานคือชนชั้นแรงงาน และคนอีสานถูกกระทำจากคนต่างกลุ่ม 3) ในแง่การเมือง คือ คนอีสานคือฐานเสียงสำคัญและมีบทบาททางการเมือง และคนอีสานเป็นเหยื่อทางการเมือง ภาพตัวแทนคนอีสานที่ปรากฏสัมพันธ์กับปริบททางสังคมวัฒนธรรมและสื่อนัยเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ภาพตัวแทนนี้ถูกสร้างขึ้นผ่านภาษาที่สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของผู้ต้องการส่งสารนั้น

 

คำสำคัญ : ภาพตัวแทน, คนอีสาน, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560) หน้า 121-168) 

 

 

The Relationship between Language and Representations of Isan People in National Newspapers: a Critical Discourse Analysis 

 

Suphat Kaewphat

 

Abstract

 

This article aims at examining how Isan people are linguistically represented in national newspapers in Thai between the years 2004 to 2013 by employing the approach of Critical Discourse Analysis. The author focuses on two newspapers, namely Thairath and Dailynews. The data was collected from January 1, 2004 to December 31, 2013. Altogether 1,924 articles and news were collected. The analysis reveals that in the national newspapers several linguistic strategies are employed to represent Isan people. The six major strategies include: 1) lexical choice selection; 2) metaphors; 3) presupposition; 4) the use of passive voice structure; 5) the use of intertextuality; and 6) the use of rhetorical questions. All these linguistic strategies represent of Isan people in three different aspects: 1) Personality and traits: Isan people are proud of themselves and their region. They are patient, group-oriented and generous; 2) Economic and social aspect: Isan people are poorly educated and lack of opportunity. Isan people are labor force. They are victimized by other groups of people; 3) Political aspect: Isan people are a major political stronghold that plays an influential role in Thai politics. However, they often become political victims. The representations of Isan people are prominently related to social context. They are somewhat biased which reflects social inequality.

 

Keywords : representations, Isan people, Critical Discourse Analysis

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 13 Number 1 (January – June 2017) Page 121-168)

 

บทความ / Full Text : Download