เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง
บทคัดย่อ
เมื่อกล่าวถึงเครื่องบรรณาการจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในยุคสมัยรัฐบรรณาการ (Tributary State) หลายคนมักนึกถึง “ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง” หรือ “ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง” ทั้งที่ความจริงแล้วเครื่องบรรณาการที่ประเทศราชอื่นนำมามอบให้แก่สยามในอดีตมีทั้งผลผลิตทางการเกษตร สินค้าพื้นเมือง อาวุธ และวัตถุ สิ่งของที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงกล่าวได้ว่า ดอกไม้เงินดอกไม้ทองถูกประกอบสร้างให้กลายเป็นสัญลักษณ์หรือภาพตัวแทนของความแตกต่างในระดับอำนาจทางการเมืองการปกครองระหว่างรัฐที่มีความเข้มแข็งมากกว่ากับรัฐที่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจ อย่างไรก็ตาม ดอกไม้เงินดอกไม้ทองมีนัยยะสำคัญที่สื่อความหมายได้มากกว่าเครื่องบรรณาการแค่เพียงอย่างเดียว กล่าวคือ เป็นเครื่องสักการะบูชาศาสนสถานหรือศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา เสมือนสัญลักษณ์แทนการยอมรับอยู่ภายใต้บวรพุทธศาสนา ต่อมาคือเป็นของขวัญหรือของกำนัลเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสการพระราชสมภพของพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์สยาม เป็นสัญลักษณ์แทนความเจริญงอกงามและการเจริญเติบโตเหมือนต้นไม้ ทั้งยังเป็นสื่อกลางในการแสดงความขอบคุณหรือแสดงน้ำใจไมตรีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ยังใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างรัฐ ใช้ประกอบพิธีเลื่อนบรรดาศักดิ์ของเจ้านายหรือขุนนางที่ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ และส่งอิทธิพลต่อนาฏศิลป์ภายในราชสำนักรวมทั้งงานวรรณกรรมของไทยด้วย
คำสำคัญ : ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, บรรณาการ, สัญลักษณ์, ภาพตัวแทน
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561) หน้า 29-60)
The Golden and Silver Flowers – The Tributary Flowers: from a Symbol of Friendship to a Representation of Authority
Kriangkrai Honghengseng
Abstract
When discussing tributary offerings that appeared in historical records in the tributary state period, many may think of “golden and silver flowers or trees”, despite the fact that there were other kinds of the tributes that the tributary states offered to Siam, such as produce, local products, weapons and other economically valuable objects. It can be said that golden and silver flowers were construed as a symbol or a representation of political unevenness between the superior and the inferior states. Nevertheless, golden and silver flowers were more significant than being only a tribute – they became items of worship to religious objects and places, symbolizing becoming a Buddhist. They were later a gift or a tribute to felicitate the birth of a prince or princess, symbolizing the growth of the tree. They were also used for the sake of showing gratitude or royalty to the monarchy and for bartering commodity between countries. Finally, they were used in accolades or aggrandizement of the nobility or the investiture of a royal title. They also influenced Thai royal-court performing arts and literature.
Keywords : Golden and Silver Flowers; Tribute; Symbol; Representation
(Published in Journal of Thai Studies Volume 14 Number 2 (July – December 2018) Page 29-60)
บทความ / Full Text : Download