พัฒนาการของแบบเรียนในการสอนอ่านเขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ 

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีสอนอ่านและเขียนจากแบบเรียนหรือหนังสือเรียนภาษาไทยที่ใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนหรือหนังสือเรียนในแต่ละยุคสมัยมีความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ความแตกต่างดังกล่าวสามารถนำมากำหนดช่วงเวลาของพัฒนาการการสอนอ่าน-เขียนภาษาไทยได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรก จะมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ ต่อมาเมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนแปลงไป และมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร แบบเรียนหรือหนังสือเรียนก็จะมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร

 

คำสำคัญ : แบบเรียน, การอ่านและการเรียน, ระดับประถมศึกษา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560) หน้า 55-71) 

 

 

The Development of textbooks for teaching reading and writing at the elementary education level from the Reign of King Rama V to the Present

 

Passapong Pewporchai

 

Abstract

 

The research aims to analyze teaching methods from Thai exercise books and textbooks of Thai reading and writing at the elementary education level from the Reign of King Rama V to the Present. The research found that the exercise books and textbooks used in each period had different aims. These differences can be used for specifying the periods of the development of the teaching methods of Thai reading and writing into two periods. The first period aimed at the outcome of enabling learners to read and write Later, with the change in the social context, the curricula were also changed, using exercise books and textbooks that aimed at yielding efficient outcomes in using language as a communicative instrument.

 

Keywords : textbook, reading and writing, elementary education level

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 13 Number 1 (January – June 2017) Page 55-71)

 

บทความ / Full Text : Download