นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์
บทคัดย่อ
เรื่องสั้นที่เล่าถึงสึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้แสดงให้เห็นถึงภาพแทนความตายที่ไร้ระเบียบ ไร้เหตุผล และเป็นเรื่องของชะตากรรมที่ไม่อาจมีใครช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากหายนะครั้งนั้นได้ การนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นกลุ่มนี้ได้สั่นคลอนชุดความคิดสำคัญ 2 ชุด ได้แก่ ความคิดเรื่องวิทยาศาสตร์และความเจริญก้าวหน้าที่มนุษย์คิดค้นเพื่อควบคุมและจัดการธรรมชาติ และความคิด
ด้านศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ กล่าวคือ เรื่องสั้นได้แสดงให้เห็นว่า วิทยาการและเจริญก้าวหน้าในโลกสมัยใหม่ที่มนุษย์ใช้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตของตนเองนั้นกลับนำพาให้มนุษย์มีความเสี่ยงจะสูญเสียมากยิ่งขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติ ส่วนศาสนาก็ไม่อาจเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ได้ แต่สิ่งที่จะปลอบประโลมมนุษย์ได้นั่นก็คือการพึ่งพากันและกันจากมนุษย์ด้วยกันเอง
คำสำคัญ : สึนามิประเทศไทย, ความตาย, ความเสี่ยง
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561) หน้า 33-60)
Tsunami : A Powerful Shake on the Vision of Death in Thai Short Stories
Nantawan Sunthonparasatid
Abstract
Short stories dealing with the tsunami that hit Thailand in 2006 are representations of disorder and irrational death, which is explained as the work of fate. The representation of death in the selected works incorporates two crucial assumptions: the belief in science and technology used to dominate the natural world and religious beliefs as a place of refuge. These short stories reveal that modern and breakthrough technology used to facilitate living, in fact, exposes people to more risk when they face natural disasters. Religion, at the same time, has not lost its importance. The selected short stories reveal that the only comfort is the unity of people.
Keyword : Tsunami Thailand, Death, Risk
(Published in Journal of Thai Studies Volume 14 Number 1 (January – June 2018) Page 33-60)
บทความ / Full Text : Download