ชวิน พงษ์ผจญ
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาเกมกลอนที่ยังคงเล่นกันอยู่ในวงการแข่งขันร้อยกรอง และนำเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้เกมกลอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร้อยกรอง จากผลการศึกษาพบว่า เกมกลอนที่นักกลอนยังคงนิยมเล่นกันอยู่นั้นมี 3 ประเภท คือ 1) ปริศนาผะหมี 2) กลอนมืด และ 3) กลอนจอหงวน โดยเกมกลอนเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร้อยกรองตามแนวทาง 7 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาฉันทลักษณ์ รู้จักเกมกลอน เลือกก่อนรังสรรค์ ประพันธ์ผลงาน วิจารณ์ปรับแก้สนุกแท้เล่นกัน และแบ่งปันประสบการณ์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางข้างต้นนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้สอนและผู้เรียน กล่าวคือ ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อตัวชี้วัดและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทั้งยังตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้แบบบรูณาการภายในกลุ่มสาระ ขณะที่ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิด และมีตัวเลือกที่หลากหลายในการเรียนรู้และการสร้างงาน ตลอดจนได้พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ไปพร้อมกัน
คำสำคัญ : เกมกลอน; ผะหมี; กลอนมืด; กลอนจอหงวน; การแต่งคำประพันธ์; การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560) หน้า 15-50)
Poetic Games: The Learning Activity for Writing Poetry
Chawin Pongpajon
Abstract
This article aims to study poetic games employed in poetry writing contests and to present how to use such games in teaching how to write poetry. The study shows that there are three poetic games played in poetry writing contests: Pha-Mi, Klon Muet, and Klon Cho Nguan. According to the use of these games in teaching, there are seven steps: studying prosody; understanding a poetic game; selecting words or game patterns; writing poetry; critiquing and editing poetry; playing poetic games; and sharing experiences. The benefits of this kind of poetry writing instruction are for both teachers and students. This means that instruction by teachers will respond to both the indicators and desired characteristics of the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551, and to integrated interdisciplinary teaching. Moreover, students will have voices and choices in learning and their creative thinking and cooperative skills will be developed during studying.
Keywords : Poetic game; Pha-Mi; Klon Muet; and Klon Cho Nguan; poetry writing; teaching Thai language
(Published in Journal of Thai Studies Volume 13 Number 2 (July – December 2017) Page 15-50)
บทความ / Full Text : Download