หนังสือพิมพ์ไทยกับกรอบการรายงานข่าวที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้สูงวัย
อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้สูงวัยในหนังสือพิมพ์กระแสหลักและสำนักข่าวออนไลน์ 12 ฉบับระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง ธันวาคม พศ.2561 โดยศึกษาการวางกรอบข่าว (News Framing) และภาพตัวแทน (Media Representation) ที่มีนัยยะต่อการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้สูงวัย ผลการวิจัยพบว่าหนังสือพิมพ์ไทยทำหน้าที่สื่อกลางที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชนของผู้สูงวัยอย่างรอบคอบ แม้จะมีการรายงานข่าวที่เป็นการสร้างภาพลบต่อกลุ่มผู้สูงวัยในข่าวทั่วไปอยู่บ้าง แต่พบว่ามีการรายงานข่าวเฉพาะที่เสริมแรง/ตอกย้ำ หรือ ส่งเสริมประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยมีจุดเน้นที่มิติทางสังคมและทางเศรษฐกิจ มากกว่ามิติทางการเมือง ส่วนรูปแบบการนำเสนอข่าวและภาพของผู้สูงวัยจะมีลักษณะตั้งรับต่อนโยบายของรัฐในขณะที่ข่าวที่ใช้แหล่งข่าวภาคเอกชนมักจะสร้างภาพผู้สูงวัย ในฐานะ “ลูกค้า” หรือ “ผู้รับบริการ” ขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ สื่อจึงถูกคาดหวังว่าจะสามารถนำเสนอข่าวผู้สูงวัยที่มีบูรณาการกับภาคส่วนอื่นในสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่สื่อจะหาวิธีการรายงานที่ลดอคติเรื่องวัยเพื่อหวังว่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการวางกรอบข่าวเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้สูงวัยในแนวรุกและแบบก้าวหน้ามากขึ้น
คำสำคัญ: ผู้สูงวัย, สังคมผู้สูงวัย, หนังสือพิมพ์, สิทธิมนุษยชน
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562) หน้า 219-253)
Thai Newspapers and news framing in reports related to promotion of human rights of the elderly.
Alongkorn Parivudhiphongs
Abstract
This study examines the presentation of news about the elderly in mainstream Thai newspapers and by online news agencies between July and December 2018, covering 12 news sources in total. This study employs concepts of news framing and media representation in relation to the promotion of human rights of the elderly in Thailand. The research suggests that most Thai newspapers act as vigilant mediators that carefully support the human rights of the elderly. Although a few general news reports create negative images of the elderly, other, more specific news reports tend to emphasize or promote human rights of the elderly, with a focus on social and economic dimensions rather than political rights. The pattern of news framing and media representation of the elderly shows that most news reports are reactive to government policy related to the elderly rather than proactive. The elderly are also often portrayed as potential customers and clients of the private sector. As the country is moving towards an aging society, one might expect that, over time, reports will increasingly integrate issues related to the elderly with other social sectors so as to create broader understanding. Accordingly, it is necessary for the media to find a balance in coverage of the elderly in order to reduce prejudice based on age whilst framing and representing the elderly in a more proactive and progressive fashion.
Keywords: Elderly, Aging Society, Newspapers, Human Rights
(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 2 (July-December 2019) Page 1-29)
บทความ / Full Text : 8_Alongkorn (1).pdf