พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

 

พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์ และปรมินท์ จารุวร

 

บทคัดย่อ

 

      บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์  และวิธีคิดในการนำคติชนดังกล่าวมาใช้ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  ผลการศึกษาพบว่า การนำเสนอมรดกโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ในสังคมประเพณี เช่น ตำนานและเรื่องเล่า ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม มาใช้ในหลายลักษณะ ส่งผลให้เกิดพลวัตของคติชนในหลากหลายมิติ ได้แก่ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ทำให้เกิดรูปเคารพและวัตถุมงคลใหม่ ๆ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเครื่องมือในการต่อรองความสัมพันธ์เชิงอำนาจ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์กลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์มีการนำเสนอผ่านกระบวนการวิชาการ และ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ช่วยขยายความศรัทธาและทำให้เกิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใหม่  ปรากฏการณ์นี้สะท้อน “วิธีคิดแบบคนใต้” ในลักษณะการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง การพึ่งพาบารมีของพระบรมธาตุเจดีย์ การดัดแปลงให้เป็นของท้องถิ่น และการอิงรากทางวัฒนธรรม

  

คำสำคัญ : คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์; พลวัตของคติชน; มรดกโลก

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 35-74)

  

Dynamics of Phra Borommathat Chedi folklore in the context of the nomination of Wat Phra Mahathat Woramahawihan to the World Heritage list

 

Pholkrit Waseewiwat and Poramin Jaruworn

 

Abstract

 

                This article aims to study the dynamics of Phra Borommathat Chedi folklore and the ways of thinking of how to use folklore in the context of the nomination process of Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat Province, to the World Heritage List. The study reveals that the use of Phra Borommathat Chedi folklore, such as myths and narratives, beliefs, traditions and rituals in many forms in traditional society, is a main factor in the nomination to the World Heritage List. This has resulted in the use of Phra Borommathat Chedi folklore in various new dimensions. For example, Phra Borommathat Chedi folklore has created new icons and sacred objects, along with instruments to negotiate power relations, and has been transformed into a cultural commodity presented through the academization and expansion of faith and creation of new sacred objects. This phenomenon reflects “the ways of Southern people thinking”, including creating a relationship network, reliance upon the “barami” of Phra Borommathat Chedi, localization and references to cultural roots.  

Keywords: Phra Borommathat Chedi folklore; dynamics of folklore; World Heritage

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 35-74)

 

บทความ/ fulltext :  2_Pholkrit.pdf