ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

 

สุนิตย์ เหมนิล

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาบริบทชุมชน และการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำและอดีตผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ และชาวบ้านหินตั้งที่อยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี รวมจำนวน ๕๐ คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เจาะลึก จัดระบบข้อมูล ตีความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และการนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า บ้านหินตั้ง เป็นสังคมเกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อมโยงกับหลักพุทธศาสนา โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับผีปู่ตาที่คอยปกปักรักษาลูกหลาน ส่วนด้านภูมิปัญญาของชาวบ้านมาจากฐานของสังคมเกษตรกรรม ผนวกกับการปลูกฝังและสืบทอดจากบรรพบุรุษ เป็นส่วนเกื้อหนุนสำคัญของบ่อเกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลายด้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน และสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงควรศึกษาและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานให้คงอยู่สืบไป

 

คำสำคัญ:  ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ปราชญ์ชาวบ้าน, บ้านหินตั้ง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 75-103)

 

 

Folk wisdom in Ban Hin Tang, Khao San Sub-district,Ban Phue District, Udon Thani Province

 

Sunit Hemanil

 

Abstract

 

This article aims to study the community context and folk wisdom management in Ban Hin Tang in order to propagate and preserve Esan folk wisdom. The study used a qualitative research method and fifty key informants comprising local wisdom scholars, community leaders, ex-community leaders, the elders and villagers who have lived in Ban Hin Tang over 20 years.

The research results found that Ban Hin Tang is an agricultural society. From past to present, the villagers believe in sacred spaces and the supernatural that can be related to the principles of Buddhism. In particular, the beliefs are related to ancestral spirits who are the guardians for their descendants. The villagers have received folk wisdom from being an agricultural society, combining preservation by ancestors, which is the key factor in the creation of folk wisdom in many ways. The folk wisdom benefits the villagers and their community. In addition, such wisdom can be applied for sustainable development in economic and social stability.

 

Keywords:  Folk wisdom, local wisdom scholars, Ban Hin Tang

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 75-103)

 

บทความ/ fulltext : 3_Sunit.pdf