ภาพจิตรกรรมพิธีแห่เจ้าเซ็น (มูฮัรรัม) ในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา : ความขัดแย้งทางการเมืองและความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์ในหัวเมืองปักษ์ใต้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ภาพจิตรกรรมพิธีแห่เจ้าเซ็น (มูฮัรรัม) ในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา : ความขัดแย้งทางการเมืองและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในหัวเมืองปักษ์ใต้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

 

สร้อยสุดา ไชยเหล็ก

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพจิตรกรรมพิธีแห่เจ้าเซ็น (มูฮัรรัม) ในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา รวมทั้งวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในหัวเมืองปักษ์ใต้ที่แวดล้อมการสร้างภาพนี้ ผลการศึกษาพบว่าภาพนี้แสดงให้เห็น
พิธีรำลึกถึงเหตุการณ์ที่อิหม่ามฮุเซนและผู้ติดตามถูกทหารของยะซีดสังหารที่กัรบาหล่า (ปัจจุบันคือเมืองกัรบาลา (Karbara) ประเทศอิรัก) ในปริบทสังคมไทย พบว่าภาพนี้มีบทบาทในการแสดงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองสงขลา ซึ่งประกอบด้วยมุสลิม ไทย และจีน นอกจากนี้พบว่าภาพนี้ปรากฏร่วมกับภาพกลุ่มคนหลากชาติพันธุ์กำลังสู้รบกันและภาพพิธีศพไทยและจีน บทความนี้จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาข้อมูลคติชนที่ช่วยให้เข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคนต่างศาสนาในหัวเมืองปักษ์ใต้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

คำสำคัญ : พิธีแห่เจ้าเซ็น, วัดโพธิ์ปฐมาวาส, ความขัดแย้ง, ชาติพันธุ์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 1-33)

 

 

Chao Sen Procession (Muharram) Paintings in the Ubosot of Wat Pho Pathomawat in Songkhla Province: Political Conflicts and Ethnic Diversity in the Southern Region in the Early Bangkok Period

 

Soisuda Chailek

 

Abstract

 

This article aims to study the Chao Sen Procession (Muharram) paintings in the Ubosot of Wat Pho Pathomawat in Songkhla province and investigate political conflicts and ethnic diversity in the southern region of Thailand during the Early Bangkok period in which the paintings are contextualized. The study shows that the paintings illustrate a procession that commemorated the deaths of Imam Hussen and his followers slaughtered by Yasid I’s soldiers at Karbara. In the Thai context, the paintings illustrate ethnic diversity in Songkhla, including Muslim, Thai and Chinese culture. Furthermore, the paintings are related to ethnic group fighting paintings and Thai and Chinese funeral ceremony paintings. This article is an example of a study of folklore used to understand political conflicts and ethnic diversity of different beliefs in southern Thailand during the Early Bangkok period.

 

Keywords: Muharram, Wat Pho Pathomawat, conflict, ethnic

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 1-33)

 

บทความ/ fulltext : 1_Soisuda.pdf