ประณามบทพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอเมืองอุบลราชธานี

ประณามบทพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอเมืองอุบลราชธานี

 

สุทธินันท์ ศรีอ่อน

 

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาประณามบทพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีจากการศึกษาข้อมูลประณามบท พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากวัด ๑๑๕ วัด  และสถานที่สำคัญอื่น ๆ ๑๐ แห่งในอำเภอ เมืองอุบลราชธานีพบว่า มีพระพุทธรูปสำคัญ ๓๘ องค์แต่มีเพียง ๗ องค์เท่านั้นที่มีผู้สร้างประณามบทและบทสวดถวาย ได้แก่ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พระเจ้าใหญ่ พระบทม์ พระแก้วไพฑูรย์ พระบทม์วัดกลาง พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อบรมโพธิสัตว์ พระแก้วโกเมน และหลวงพ่อเงินวัดปากน้ำ (บุ่งสะพัง) โดยประณามบททั้งหมด แต่งด้วยภาษาบาลีและภาษาบาลีประสมภาษาไทย   จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (ก) แนวคิดการใช้ประณามบทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่เขตเมืองจังหวัดอุบลราชธานีมีแนวคิดหลักคือต้องการแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ตนนับถือ โดยมีการขอคำอำนวยพรให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ ผู้สวดประณามบท โดยพบได้จากโครงสร้างของประณามบท คือ ขึ้นต้นด้วยคาถาภาษา บาลีที่มีเนื้อหานอบน้อมต่อพระพุทธรูปองค์นั้น ๆ ช่วงกลางหรือท้ายใช้ทั้งภาษาบาลี และภาษาไทยซึ่งมีเนื้อความคล้องจองกัน เน้นให้เกิดสวัสดิมงคล ความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง มีลาภ และปราศจากอันตราย แนวคิดเช่นนี้เป็นการใช้ภาษาเชื่อมโยงถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันแสดงให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เพราะมนุษย์ไม่มีอำนาจและกังวลต่อการดำเนินชีวิตจึงมีแนวคิดพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านประณามบท    (ข)รูปแบบและการสื่อความหมายทางภาษา พบว่ารูปแบบภาษาประณามบท พระพุทธรูปทั้ง ๗ องค์แต่งเป็นบทร้อยกรองภาษาบาลีและภาษาบาลีประสมประสาน กับภาษาไทย ภาษาบาลีมีบทบาทต่อการรังสรรค์ประณามบทเพราะเชื่อกันว่าเป็นภาษา ศักดิ์สิทธิ์ แม้ว่าการใช้ภาษาบาลีและภาษาบาลีประสมภาษาไทยในประณามบทจะแตกต่างจากการแต่งประณามบทในวัฒนธรรมอื่น แต่กลับพบว่าแนวคิดเช่นนี้ เป็นมโนทัศน์เดียวกัน และประณามบทพระพุทธรูปทั้ง ๗ องค์เป็นการสร้างถ้อยคำ ในวัฒนธรรมพุทธศาสนาท้องถิ่นภาษาบาลียังคงเป็นภาษาที่จำเป็นถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีไว้สำหรับสื่อสารกับพระพุทธรูปองค์สำคัญที่ผู้คนในอำเภอเมืองอุบลราชธานีเคารพ ศรัทธาเมื่อพิจารณาจากแนวคิดการใช้ประณามบทภาษาบาลีและภาษาบาลีประสม ภาษาไทยทำให้ได้ข้อค้นพบว่า ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็น กรรมดีเป็นมงคลและให้ผลดีแก่ตนได้ บทบาทหน้าที่สำคัญของประณามบทคือเป็น เครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้สวดกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นั้น ๆ เพื่อแสดงเจตจำนง ตามที่ตนปรารถนา ดังนั้น ในทางจิตวิทยาประณามบทเป็นบทสำคัญที่ทำให้ผู้คนรู้สึก มั่นคง ปลอดภัย และสบายใจ ในทางภูมิวัฒนธรรมประณามบทมีผลจากความเชื่อว่าพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีศักดิ์สิทธิ์ จนส่งผลให้สร้างถ้อยคำสรรเสริญคุณแล้วขออำนวยพร

 

คำสำคัญ: ประณามบท, พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, อำเภอเมืองอุบลราชธานี

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 121-152)

 

 

 

 

Invocations for Buddha images in Amphoe Mueang Ubon Ratchathan

 

 

Suddhinan Srion

 

Abstract 

 

This research aims to explore the invocation for 38 sacred Buddha images found in the area of Mueang District, Ubon Ratchathani Province, using invocation gathered from 115 temples and 10 significant places in the vicinity of Muang District. The findings indicate that only seven highly revered Buddha images have invocations, written either in Pali or in both Pali and Thai: Phrachaoyai Inpaeng, Phrachaoyai Phrabot, Phrakaeo Phaithun, Phrabot Watklang, Phrachaoyai Ong Tueboromphotsat, Phrakeao Komen, and Luangphor Ngoen Wat Paknam (Bungsaphang). An analysis of the data suggests: a) the concept of invocation to worship sacred objects in the vicinity of Muang District, Ubon Ratchathani, is based on the wish of local people to pay respect to revered Buddha images in their area. The recitation asks for blessings of luck and good life for the reciter. The structure of the invocation consists of the beginning in Pali describing feelings of respect for each particular Buddha image, while the middle or the end parts use both Pali and Thai with the content about being blessed with fame and fortune, happiness and prosperity, wealth and safety. The invocation reflects the humbleness and vulnerability of man who needs to ask for protection from the sacred Buddha image; b) the language pattern and communicative style of the invocation for sacred objects in Ubon Ratchathani was written to pay respect to seven Buddha images in the form of poetry using Pali and a combination of Pali and Thai. Pali is considered a sacred language and thus is suitable for the invocation. The use of a Pali and Thai combination is different from invocations found in other cultures, despite sharing the same idea. The invocation for the seven Buddha images shows an inventive language depicting regional Buddhist culture that places an important role on the use of Pali. As most local people believe that paying respect to sacred objects will bring blessings, the role of the invocation is to establish a channel to allow people to communicate with the Buddha images and express their wishes. The invocation works as a psychological device to make people feel secure, safe and relaxed. Invocations were born out of the belief that the Buddha images of Ubon Ratchathani are sacred and therefore their merits deserve invocation.

 

Keywords: invocation, sacredBuddha images, Muang District, Ubon Ratchathani

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January-June 2021) Page 121-152)

 

บทความ/ fulltext : 4_Sudhinan (1).pdf