เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานประดับมุกเกาหลีกับไทย
เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง
บทคัดย่อ
ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรากฏวัฒนธรรมการทำเครื่องประดับมุกมาเป็นระยะเวลานับพันปีเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผสมผสานกันระหว่างวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในป่าไม้และใต้ท้องทะเล กล่าวคือ ยางรักจากต้นรักและเปลือก หอยมุกที่มีสีสันสวยงาม ทั้งยังผสมผสานกันระหว่างงานช่างสองแขนงหลักคืองาน ช่างรักและงานช่างประดับมุกได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีไทยเวียดนาม เมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยงานศึกษาวิจัยด้านเครื่องประดับมุกในประเทศไทยส่วนใหญ่ พบหนังสือและบทความวิชาการเกี่ยวกับงานประดับมุกของไทยจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม แต่จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า องค์ความรู้ด้านงานประดับมุกของประเทศเกาหลีมีอยู่น้อยมากหรือแทบไม่ปรากฏเลย จึงเป็นที่มาของความสนใจเขียนบทความวิชาการเรื่องนี้เพื่อให้ข้อมูลด้านความแตกต่างระหว่างงานประดับมุกของไทยและเกาหลีทั้งในด้านวัตถุดิบ เครื่องมือ ลวดลาย เทคนิควิธีการ และการใช้ประโยชน์เพื่อให้นักศึกษาด้านศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมศึกษา ได้เข้าใจประวัติความเป็นมาและคุณค่าของงานประดับมุกที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีได้เป็นอย่างดี ขณะที่ช่างประดับมุกของไทยสามารถนำลวดลายและเทคนิควิธีการที่มีความแตกต่างกันมาใช้พัฒนาต่อยอดหรือปรับประยุกต์เป็นลวดลายใหม่ เพื่อรักษางานประดับมุกไทยทั้งในเชิงอนุรักษ์และริเริ่มผลงานแนวใหม่ในแบบศิลปะร่วมสมัยภายใต้แรงบันดาลใจจากงานประดับมุกเกาหลี
คำสำคัญ: เครื่องมุก, งานประดับมุก, ยางรัก
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 153-180)
The Comparison Between Thai and Korea Mother of Pearl Inlay
Kriangkrai Honghengseng
Abstract
In East Asia and Southeast Asia, there has been mother of pearl inlay for more than a thousand years. Such work combines science and arts using materials from the land and sea, which are lacquer varnish and pearl oysters used by artisans of lacquer and mother of pearl inlay. Mother of pearl inlay appears in China, Japan, Korea, Thailand, Vietnam, Myanmar, Laos and Cambodia. Many books and academic articles in Thailand provide information about mother of pearl inlay in China, Japan and Vietnam, but only a few include information about the work in Korea. Accordingly, this article compares the differences between mother of pearl inlay in Thailand and Korea in terms of materials, tools, motifs, techniques and uses. The students in fine arts, history and cultural studies can learn about the origins and values of Thai and Korean mother of pearl inlay that reflects ways of life, societies and cultures. Furthermore, Thai mother of pearl inlay artists have used some particular techniques and motifs to create a new platform that can conserve traditional art in combination with contemporary art.
Keywords: Mother of pearl wares, Mother of pearl inlay, Lacquerware
(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 153-180)
บทความ/ fulltext :5_Kriangkrai (1).pdf