“อายก” พื้นที่พุทธศาสนาของกลุ่มคนปลัง(ไตหลอย-ลัวะ)

“อายก” พื้นที่พุทธศาสนาของกลุ่มคนปลัง(ไตหลอย-ลัวะ)

 

พลวัฒ ประพัฒน์ทอง
เชิดชาติ หิรัญโร
พวงผกา ธรรมธิ

 

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกลุ่มคนที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติพันธุ์ในพื้นที่พุทธศาสนา โดยศึกษาจากงานประเพณี “อายก” ซึ่งเป็นพิธีที่มีความหมายว่าการสร้างสิ่งที่น่ากลัวเพื่อปกป้องพระศพของพระพุทธเจ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ปลัง(ไตหลอย-ลัวะ) ในพื้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง
จังหวัดเชียงราย และศึกษาจากเรื่องเล่า “อายก” ในพื้นที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้วยวิธีการศึกษางานภาคสนามต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และศึกษาภาคสนามแบบวงกว้างในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อการเปรียบเทียบ การเคลื่อนที่ของกลุ่มคนและความเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของความหมาย
ทางพุทธศาสนากับกลุ่มคนในสภาวะชาติพันธุ์สัมพันธ์ร่วมสมัยผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนที่ของพุทธศาสนาเข้ามาในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดการสร้างวรรณกรรมพุทธศาสนาของกลุ่มคนพูดภาษาตระกูลไทในล้านนาและรัฐฉาน ดังเรื่องที่คนพื้นถิ่น (ลัวะ) เป็นผู้ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าและเป็นผู้เก็รักษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าประทานให้ก่อนการเกิดขึ้นของเมืองที่ประดิษฐานศาสนาพุทธ เป็นภารกิจของคนพื้นถิ่นต่อพระพุทธเจ้าก่อนกลุ่มคนพูดภาษาตระกูลไทประเพณี “อายก” เป็นพื้นที่หนึ่งทางพุทธศาสนาของกลุ่มคนปลัง (ไตหลอย-ลัวะ)ที่จัดขึ้นที่หมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีความหลากหลายทาง
ชาติพันธุ์ประเพณีนี้ทำให้เห็นว่าแม้คนปลังจะถูกจัดลำดับชั้นทางสังคม ให้เป็นคนที่ยังไม่เคยมีอาณาจักรหรือรัฐ เช่น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทขึน แต่กลุ่มคนปลัง (ไตหลอย-ลัวะ) ก็ได้สร้างประเพณีเพื่ออธิบายตนเองว่าเป็นผู้อยู่ร่วมสมัยกับพุทธเจ้า และได้รับมอบหมายในการปกป้องพระศพของพระองค์ ซึ่งพิธีเช่นนี้นั้นในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนา จะเรียกว่าวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า แต่สำหรับคนปลัง (ไตหลอย-ลัวะ) ที่บ้านห้วยน้ำขุ่นนั้นเรียกว่า ประเพณีอายก ได้จัดขึ้นในวันเพ็ญของเดือนธันวาคมทุกปี อภิปรายผลศึกษาได้ว่า การสร้างพื้นที่ของชาติพันธุ์ในพุทธศาสนาให้กับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในโครงสร้างสังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรมแต่อย่างไรก็ตามตัวตนนี้ก็ยังผูกติดกับลำดับชั้นทางอุดมการณ์ทางพุทธศาสนาที่กดทับผู้คนไว้เช่นกัน
 

คำสำคัญ: ชาติพันธุ์, การสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธุ์ปลัง

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม -ธันวาคม 2564) หน้า 1-24)

 

 

‘Ayok’: Buddhist Space of the Plang (Tai Luay or Lua) Ethnic Group

 

Pollavat Prapattong
Cherdchart Hirunro
Phuangphaka Thammathi

 

 

Abstract

 

The primary objective of this study was to explain the efforts of a
Buddhist ethnic group to establish religious-cultural space. This study focused
on the ‘Ayok’ festival of the Plang (Tai Luay or Lua) ethnic group, a festival
that involves the use of horrifying objects for the purpose of guarding the
body of the Buddha. The data for this study, collected through an on-going
field study dating back to 2004 and through additional broad-scale fieldwork
in 2017, were from two sources: (i) the Plang community in Huay Nam Khun
village in Mae Fah Luang district/sub-distri1ct, Chiang Rai province; and (ii)
Ayok-related legends commonly told in the Shan State of the Republic of the
Union of Myanmar. The data were used to make a diachronic comparison of
the ethno-cultural dynamics and changes, in light of contemporary ethnicity,
of the Plang in their geo-cultural space within Buddhism.

According to the study, the arrival of Buddhism in mainland Southeast
Asia gave rise to the creation of literary works by some ethnic groups in the
Lanna Kingdom and the Shan State, whose native languages belonged to the
Tai family. However, according to folk legends, some natives, mostly Luas,
claimed to have seen the Buddha himself and been entrusted with the duty of
guarding his relics or objects, even before the birth of any Buddhism-dominated
community and before any similar efforts by other Tai-speaking ethnic
groups.
The Ayok Festival observed by the Plang of Huay Nam Khun, a community of high ethnic diversity, reflects that, although this ethnic group is socially classified as a kingdom-less or state-less people, along with the Shan,Tai Lue and Tai Khoen, the Plang, nonetheless, have developed a traditionexplaining that their ancestors lived during the same period as the Buddha,
and, therefore, were appointed guardians of his body. This tradition, known as the Buddha Cremation Memorial Day (usually in May) amongst Lanna cultures, is celebrated by the Plang of Huay Nam Khun on the full-moonnight of December. The study shows that the reason an ethnic group attempts to occupy a space in Buddhism is to solidify its presence in a multicultural
society. Nevertheless, such presence is still subjected to repression arising from Buddhist hierarchical ideology.

 

Keywords: Ethnicity, cultural spaces, Plang ethnic group

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 2 (July – December 2021) Page 1-24)

 

 

บทความ/ fulltext : 1_Pollavat.pdf