อุดมการณ์ทางสังคมในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
วรุณญา อัจฉริยบดี
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “อุดมการณ์ทางสังคมในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง”มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ทางสังคมที่ปรากฏในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างสมัยกรุงศรีอยุธยา และคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างสมัยรัตนโกสินทร์รวม ๙ สำนวน ผลการศึกษาพบว่า อุดมการณ์ทางสังคมในคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ๓ ลักษณะ ได้แก่ อุดมการณ์จักรพรรดิราช อุดมการณ์จักรพรรดิราชประกอบกับอุดมการณ์ธรรมราชา และอุดมการณ์เทวราชา อุดมการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ในด้านการปกครอง พระเกียรติยศของ
พระมหากษัตริย์ และช่วยส่งเสริมอำนาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะสมมติเทพ
คำสำคัญ: คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง, อุดมการณ์ทางสังคม, วรรณคดี, ขนบธรรมเนียมประเพณี
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม -ธันวาคม 2564) หน้า 73-99)
Social Ideology in Elephant Pacification Poems
Warunya Ajchariyabodee
Abstract
The research for this article aimed to analyse the social ideology that appears in nine Elephant Pacification Poems of the Ayutthaya and Rattanakosin periods. The results of this study show that characteristics of Elephant Pacification Poems include Chakravartin ideology. Chakravartin ideology, along with Dharmaraja and God King ideology, represents the role of domination by the king, the honour of the king and help promote the divine right of the power of the kings.
Keywords: Elephant Pacification Poems, Social Ideology, Literary Works, Occasioned by Tradition
(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 2 (July – December 2021) Page 73-99)
บทความ/ fulltext :4_Waranya.pdf