การสร้างสรรค์ละครนอกเรื่องมโนห์รา ตอน ลาสรงลงสระอโนดาต: การสืบทอดและปรับปรน
กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ละครนอกเรื่องมโนห์รา ตอนลาสรงลงสระอโนดาต ว่ามีการอนุรักษ์ขนบละครรำดั้งเดิมของไทย และปรับปรนให้เข้ากับบริบทสังคมสมัยใหม่อย่างไร โดยศึกษาจากตัวบทละครและการแสดงที่เผยแพร่ผ่านทางสื่อออนไลน์ YouTube ตลอดจนการสัมภาษณ์ เพื่อชี้ให้เห็นการสืบทอดขนบการ
แสดงแบบดั้งเดิมของกรมศิลปากร
ผลการศึกษาพบว่า ละครนอกเรื่องมโนห์รา ตอนใหม่นี้เป็นการต่อยอดการสร้างสรรค์ละครเรื่องมโนห์รา ของกรมศิลปากรฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๘ การแสดงละครนอกเรื่องนี้สืบทอดรูปแบบการแสดงละครนอกแบบหลวง ซึ่งกรมศิลปากรได้นำมาจากลักษณะการแสดงละครนอกของราชสำนักตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้วปรับปรุงให้น่าสนใจขึ้น ละครนอกเรื่องมโนห์รา ตอนใหม่นี้ยังรักษาให้มีกระบวนท่ารำอันงดงามไว้ได้แก่ บทลงสรงทรงเครื่อง บทชมธรรมชาติและการแทรกระบำ อย่างไรก็ตาม มีการปรับปรนเนื้อหาข้อมูล มุกตลก ภาษาในบทร้องและบทเจรจาตลอดจนเครื่องแต่งกายบางอย่างให้เข้ากับยุคสมัย การปรับปรนนี้จึงเป็นหนทางแห่งการพัฒนาละครนอกทางหนึ่ง เพื่อให้รูปแบบการแสดงละครเช่นนี้ยังคงอยู่และสื่อสารกับผู้ชมในยุคปัจจุบันได้
คำสำคัญ : การสืบทอดและปรับปรน, ละครนอก, มโนห์รา
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2565) หน้า 93-120)
The Lakhon Nok Creation of Manora, the Episode of Asking for Permission to Bathing at the Anodat Pond: An Inheritance and Adjustment
Kittisak Kerdarunsuksri
Abstract
Thispaper seeks to study how the lakhon nokproduction of Manora,the Episode of Asking for Permission to Bathing at the Anodat Pond, was created to preserve the convention of traditional dance-drama, as well as how it was adjusted to fit in a modern social context. The script, YouTube
video and interviews were employed in the study to point out the transmission of traditional dance-drama conventions of the Fine Arts Department.
The results find that this new production of Manora builds on the Manora production of the Fine Arts Department from 1955. The court style of lakhon nok since the early Bangkok period was adopted and has been passed on, and then was adapted to make the performance more interesting. The production maintains the tradition of inserting beautiful and spectacular dance parts, namely, the bathing and dressing, the admiration of nature and the group dances. However, the adjustment of content, comic elements, the language in the lyrics and dialogue, as well as some features of the costumes to fit the contemporary period, is discernible. Such adjustment is a way of developing lakhon nok to remain alive and to be able to communicate with today’s audience.
Keywords : An inheritance and adjustment, lakhon nok, Manora
(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 1 (January – June 2022) Page 93-120)
บทความ/ fulltext :4_Kittisak.pdf