พระมหากษัตริย์ ข้าราชการและประชาชน : มุมมองผ่านการเสด็จประพาสต้นคราวแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปิยนาถ บุนนาค

 

บทคัดย่อ

 

มุมมองเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ข้าราชการและประชาชน ผ่านการเสด็จประพาสต้นคราวแรก (14 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2447) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ “การประพฤติ” และ “การปฏิบัติหน้าที่” ในฐานะต่างๆ กันของบุคคลทั้ง 3 สถานะ พระมหากษัตริย์ในฐานะพระผู้นำแห่งแผ่นดิน ทรงประพฤติปฏิบัติตนเยี่ยงสามัญชน เพื่อจะได้ทรง “รับรู้” ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตามสภาพที่เป็นจริงด้วยพระองค์เอง ไม่ผ่านเพียงการทอดพระเนตรรายงาน หรือการทรงฟังคำกราบบังคมทูลจากข้าราชการเท่านั้น ขณะเดียวกันก็เป็นการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาคกับทั้งเป็นการทดลองใช้การคมนาคมแบบใหม่ที่ทรงวางรากฐานไว้ด้วย ในขณะเดียวกันข้าราชการผู้ตามเสด็จซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการบริหารบ้านเมืองในระบบราชการแบบใหม่ก็เกิดความ “เข้าใจและเข้าถึง” ประชาชนอันนำไปสู่การปรับปรุงงานในส่วนที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบในกระบวนการปฏิรูปบ้านเมืองตามพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนประชาชนก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ แสดงความเป็นตัวตนของตัวเองทั้ง “ทุกข์และสุข” ให้ทรงทราบโดยไม่รู้เลยว่าบุคคลที่ตนได้ “เลี้ยงอาหาร” และ “สนทนาวิสาสะด้วยอย่างใกล้ชิด” คือ เจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดินของตน จากการประพฤติปฏิบัติตามฐานะดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างพระมหากษัตริย์กับข้าราชการและประชาชน นั่นคือ “ความรัก ความเมตตา และความกรุณา” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งข้าราชการและประชาชน ในลักษณะที่ “บิดามีต่อบุตร” ในขณะเดียวกัน ข้าราชการผู้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์อย่างเต็มเปี่ยมอยู่แล้วก็ขวนขวายที่จะบริหารราชการบ้านเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างเต็มสติกำลังเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์และสนองคุณประเทศ ส่วนประชาชนซึ่งมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่แล้วในเชิงนามธรรมในระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช การเสด็จประพาสต้นก็ยิ่งทำให้พวกเขาได้ตระหนักถึงความรักพระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ต่อตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งและจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นทับทวีคูณ นำไปสู่การถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ในเวลาต่อมา ซึ่งยังคงเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าตราบจนทุกวันนี้

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 1-40) 

 

 

King, Officials and People: Perspectives on the First Royal Private Tour Of King Chulalongkorn

 

Piyanart Bunnag

 

Abstract

 

The perception about the king, nobility and the people through the first royal private (incognito) tour of King Chulalongkorn (14 July- 7 September 1904) rested on divergent patterns of “behaviour” and “functioning” accompanying the three different statuses. The king, the leader of the country, behaved in the same manner as the commoner in order that he could be able to “perceive” the livelihood of his subjects as it really was by first hand experience rather than only to have it reported by aristocrats. At the same time the trip was also to observe and evaluate the outcomes of his previous regional administrative reform, as well as a tryout of the modern communications system he had just constituted. By the same token, the officials who accompanied the tour, were the ones who played enormously important administrative roles in the newly founded modern administrative system. Along the course of the tour, these powerful aristocrats could develop their understanding and could get close to the commoners. As a result, they could make an appropriate adjustment to the functions under their responsibilities, which were important parts of the progressive reforms of Thailand under King Chulalongkorn’s direction at the time. As for the people, they could be able to meet the king in private and be able to convey to him their personality, happiness and sorrow, in a straight forward way without their acknowledgement that the man, with whom they had meals and close conversations, was their sovereign lord of life and land. The behavioural conduct according to such statuses reflected a beautiful relationship between the king, state officials and the commoners. It was “love, indulgence, and kindness”, which the king showed towards his subjects, both the officials and the commoners alike, in the same manner as “a father behaves with his own children”. At the same time, the bureaucrats, who had the utmost loyalty wholeheartedly to the king, eagerly administered the country for the benefits of the people as their service to the king and the country. As for the commoners, they already had their abstract loyalty to the king according to the absolute monarchy governance. The first royal private tour opened to them opportunities to realize the love, indulgence, and kindness of their king in concrete terms and, therefore, brought to them the multiplied feeling of appreciation and gratefulness to the king. This led to the offering to King Chulalongkorn, “the Great Beloved King”, who has been highly worshiped by all groups of the Thai until the present.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 1-40)

 

บทความ / Full Text : Download