มรดกภูมิปัญญารูปสัตว์หิมพานต์ : งานช่างสิบหมู่ในพระราชพิธีปัจจุบัน

รุ่งอรุณ กุลธำรง

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ความเป็นมาและความสำคัญของรูปสัตว์หิมพานต์ในพระราชพิธีและการสืบทอดรูปสัตว์หิมพานต์ในพระราชพิธีปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า รูปสัตว์หิมพานต์เป็นมรดกภูมิปัญญางานช่างสิบหมู่ในสังคมไทย ซึ่งรูปสัตว์หิมพานต์มีพัฒนาการมาจากรูปสัตว์ ต่อมาจึงเรียกว่ารูปสัตว์หิมพานต์เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รูปสัตว์หิมพานต์มีความเป็นมาและความสำคัญทางด้านศิลปกรรมรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระราชพิธีนั้นมีการจัดสร้างรูปสัตว์หิมพานต์ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระศพพระบรมวงศานุวงศ์เพื่อการเฉลิมพระเกียรติยศด้วยการตกแต่งประดับพระเมรุ และเข้ากระบวนแห่พระบรมศพพระมหากษัตริย์หรือพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาได้ยกเลิกการสร้างรูปสัตว์หิมพานต์เข้ากระบวนแห่เมื่อรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันยังคงมีการสืบทอดการสร้างรูปสัตว์หิมพานต์ตั้งตกแต่งประดับพระเมรุในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ อันเป็นการสืบทอดความเชื่อสมัยโบราณเรื่องการสร้างพระเมรุจากความเชื่อเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุในไตรภูมิกับการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นสมมติเทพ ซึ่งเมื่อสวรรคตแล้วจะเสด็จสู่เขาพระสุเมรุที่สถิตแห่งเทพเจ้าดังเดิม อันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 103-137) 

 

 

Intellectual Heritage on Mythical Figures of Sat Himaphaan : Ten Thai Crafts in Contemporary Royal Ceremonies 

 

Rungaroon Kulthamrong

 

Abstract

 

This article aims to search, compile, study and analyze the historical background and significance of using figures of imaginary animals called as Sat Himaphaan for royal-ceremonial ornamentation and inheritance of decorating this mythical-Himaphaan Forest creatures in Contemporary Royal Ceremonies. The study found that the legendary figures of Sat Himaphaan has been intellectual heritage of Ten Thai Crafts in Thai society which have elaborated from animal-like figures and were known as Sat Himaphaan since the reign of King Rama the Sixth. The tradition and importance of figures of Sat Himaphaan had illustrated in fine arts since the Sukothai period until Rattanakosin era. In royal ceremonial tradition, the figures of Sat Himaphaan has exclusively been introduced for the decoration of Phra Meru and the Royal-Crematory Procession in Royal Funeral Ceremonies of Majesty the King’s royal body and the Members of Royal Family’s bodies to celebrate their solemnity and dignity. In the later time, in the reign of King Rama the Sixth, the tradition of introducing the figures of Sat Himaphaan in the Royal-Crematory Procession had been abrogated. However, at the present time, the inheritance of creating the figures of Sat Himaphaan to decorate Phra Meru in Royal Cremation Ceremonies for the Members of Royal Family has depicted the ideological tradition of Phra Sumeru Mountain in the Triphum Buddhism World with the belief of the King as Demi-God and his rebirth in the Heavenly Devine Kingdom of Mount Sumeru after his death. This has reflected the creation of the legendary figures of Sat Himaphaan has been inherited as cultural Intellectual heritage from the past until contemporary time. An elaborate funeral pyre called Phra Sumeru Merumas be built for Royal Cremations.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 103-137)

 

บทความ / Full Text :  Download