สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติการพาณิชยนาวีไทยซึ่งเป็นกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศทางเรือรูปแบบหนึ่ง ที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานและเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความได้เปรียบในทำเลที่ตั้ง ทำให้เมืองราชธานีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะอยุธยาดำรงฐานะเมืองท่าสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการต่อเรือที่สำคัญ การพาณิชยนาวีในยุคที่กษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางการค้าควบคู่กับระบบการค้าแบบผูกขาดสินค้าในระบบพระคลังสินค้า และบทบาทของชาวจีนในการดำเนินการค้าทางทะเลได้นำความมั่งคั่งมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย เมื่อรูปแบบการค้าที่ต้องเลิกระบบการผูกขาดการค้าทำให้การพาณิชยนาวีไทย มีการเปลี่ยนจารีตการค้าเป็นรูปแบบเอกชนมากขึ้น ทำให้การพัฒนาการพาณิชยนาวีของไทยต้องปรับเปลี่ยนระบบการค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 191-228)
Developing of Thai Merchant Marine
Sunanta Charoenpanyaying
Abstract
This article aims to study the history of the Thai Merchant Marines, which is a form activity of international trade that developed since ancient times and which prospered in the Ayutthaya, Thonburi and early Rattanakosin eras. With the advantage of the location of the capital city in the lower Chao Phraya River, Ayutthaya became a major port of trade and shipbuilding center. The “Monopoly System” of the royal warehouse was an important trade policy, as well as the role of the merchant marines of the Chinese people, which brought prosperity to the country. When the trading system of the monopoly for commercial products broke up, the Thai Merchant Marines was transformed from the government sector to the private sector. As a result, the development of Thai Merchant Marines adjusted to be competitive with foreign trade.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 191-228)
บทความ / Full Text : Download