วารสารไทยศึกษา - ปีที่ 9 ฉบับที่ 1

 

 

1) พระมหากษัตริย์ ข้าราชการและประชาชน : มุมมองผ่านการเสด็จประพาสต้นคราวแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว / ปิยนาถ บุนนาค

 

2) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ / วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

3) สองมิติของ “การเดินทาง” ในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 : จินตนาการและภาพสะท้อนสังคม / ดินาร์ บุญธรรม

 

4) มรดกภูมิปัญญารูปสัตว์หิมพานต์ : งานช่างสิบหมู่ในพระราชพิธีปัจจุบัน / รุ่งอรุณ กุลธำรง

 

5) นาฏยลีลาพระมหาชนก : การสร้างสรรค์ชาดกในสังคมไทย / สุภัค มหาวรากร

 

6) จุลกฐินวัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ จังหวัดยโสธร : การรื้อฟื้นและประดิษฐ์สร้างพิธีกรรมในปัจจุบัน / สุรชัย ชินบุตร

 

 

แนะนำหนังสือ

 

“ประชุมสุภาษิตสอนหญิง : มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และคุณค่าต่อสังคม” / พิสิทธิ์ กอบบุญ

พระมหากษัตริย์ ข้าราชการและประชาชน : มุมมองผ่านการเสด็จประพาสต้นคราวแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปิยนาถ บุนนาค

 

บทคัดย่อ

 

มุมมองเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ข้าราชการและประชาชน ผ่านการเสด็จประพาสต้นคราวแรก (14 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2447) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ “การประพฤติ” และ “การปฏิบัติหน้าที่” ในฐานะต่างๆ กันของบุคคลทั้ง 3 สถานะ พระมหากษัตริย์ในฐานะพระผู้นำแห่งแผ่นดิน ทรงประพฤติปฏิบัติตนเยี่ยงสามัญชน เพื่อจะได้ทรง “รับรู้” ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตามสภาพที่เป็นจริงด้วยพระองค์เอง ไม่ผ่านเพียงการทอดพระเนตรรายงาน หรือการทรงฟังคำกราบบังคมทูลจากข้าราชการเท่านั้น ขณะเดียวกันก็เป็นการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาคกับทั้งเป็นการทดลองใช้การคมนาคมแบบใหม่ที่ทรงวางรากฐานไว้ด้วย ในขณะเดียวกันข้าราชการผู้ตามเสด็จซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการบริหารบ้านเมืองในระบบราชการแบบใหม่ก็เกิดความ “เข้าใจและเข้าถึง” ประชาชนอันนำไปสู่การปรับปรุงงานในส่วนที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบในกระบวนการปฏิรูปบ้านเมืองตามพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนประชาชนก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ แสดงความเป็นตัวตนของตัวเองทั้ง “ทุกข์และสุข” ให้ทรงทราบโดยไม่รู้เลยว่าบุคคลที่ตนได้ “เลี้ยงอาหาร” และ “สนทนาวิสาสะด้วยอย่างใกล้ชิด” คือ เจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดินของตน จากการประพฤติปฏิบัติตามฐานะดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างพระมหากษัตริย์กับข้าราชการและประชาชน นั่นคือ “ความรัก ความเมตตา และความกรุณา” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งข้าราชการและประชาชน ในลักษณะที่ “บิดามีต่อบุตร” ในขณะเดียวกัน ข้าราชการผู้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์อย่างเต็มเปี่ยมอยู่แล้วก็ขวนขวายที่จะบริหารราชการบ้านเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างเต็มสติกำลังเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์และสนองคุณประเทศ ส่วนประชาชนซึ่งมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่แล้วในเชิงนามธรรมในระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช การเสด็จประพาสต้นก็ยิ่งทำให้พวกเขาได้ตระหนักถึงความรักพระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ต่อตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งและจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นทับทวีคูณ นำไปสู่การถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ในเวลาต่อมา ซึ่งยังคงเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าตราบจนทุกวันนี้

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 1-40) 

 

 

King, Officials and People: Perspectives on the First Royal Private Tour Of King Chulalongkorn

 

Piyanart Bunnag

 

Abstract

 

The perception about the king, nobility and the people through the first royal private (incognito) tour of King Chulalongkorn (14 July- 7 September 1904) rested on divergent patterns of “behaviour” and “functioning” accompanying the three different statuses. The king, the leader of the country, behaved in the same manner as the commoner in order that he could be able to “perceive” the livelihood of his subjects as it really was by first hand experience rather than only to have it reported by aristocrats. At the same time the trip was also to observe and evaluate the outcomes of his previous regional administrative reform, as well as a tryout of the modern communications system he had just constituted. By the same token, the officials who accompanied the tour, were the ones who played enormously important administrative roles in the newly founded modern administrative system. Along the course of the tour, these powerful aristocrats could develop their understanding and could get close to the commoners. As a result, they could make an appropriate adjustment to the functions under their responsibilities, which were important parts of the progressive reforms of Thailand under King Chulalongkorn’s direction at the time. As for the people, they could be able to meet the king in private and be able to convey to him their personality, happiness and sorrow, in a straight forward way without their acknowledgement that the man, with whom they had meals and close conversations, was their sovereign lord of life and land. The behavioural conduct according to such statuses reflected a beautiful relationship between the king, state officials and the commoners. It was “love, indulgence, and kindness”, which the king showed towards his subjects, both the officials and the commoners alike, in the same manner as “a father behaves with his own children”. At the same time, the bureaucrats, who had the utmost loyalty wholeheartedly to the king, eagerly administered the country for the benefits of the people as their service to the king and the country. As for the commoners, they already had their abstract loyalty to the king according to the absolute monarchy governance. The first royal private tour opened to them opportunities to realize the love, indulgence, and kindness of their king in concrete terms and, therefore, brought to them the multiplied feeling of appreciation and gratefulness to the king. This led to the offering to King Chulalongkorn, “the Great Beloved King”, who has been highly worshiped by all groups of the Thai until the present.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 1-40)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์

วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อม บริบทของสังคมในระยะเวลานั้นและวิธีการในการฟื้นฟู 

 

ในการวิเคราะห์ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันสงฆ์ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมาก ผลการศึกษาพบว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับสถาบันสงฆ์มาก เพราะพระสงฆ์เป็นผู้เผยแผ่พระศาสนาเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม พระสงฆ์จึงเปรียบเสมือนผู้เชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับรัฐ โดยพระสงฆ์เป็นสื่อกลางการถ่ายทอดความรู้และโลกทัศน์ทางพุทธศาสนาให้กับประชาชนอีกต่อหนึ่ง การฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ให้มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การสังคายนาพระไตรปิฎก การส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม การสร้างวัดและสนับสนุนการบวชเรียน และการปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ กล่าวได้ว่าการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ในรัชกาลนี้สร้างความมั่นคงให้การพระศาสนาพร้อม ๆ กับความมั่นคงทางการปกครอง และเป็นรากฐานของการพัฒนาสถาบันสงฆ์ในปัจจุบัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 41-60) 

 

 

King Rama III and the Rejuvenation of the Buddhist Sangha

 

Waraporn Chiwachaisak

 

Abstract

 

This article aims to study the rejuvenation of the Thai Buddhist Sangha during the reign of King Rama III by exploring the historical environment and context at that time, as well as looking at the approach used to restore the religious institutions. In analyzing the relationship between the Thai institution of Kingship and the Buddhist institution at the beginning of the Rattanakosin period, in particular during the reign of King Rama III, it was found that King Rama III paid considerable attention to the Sangha Institution because he realized the dominant role of Buddhist monks in propagation of the Buddha’s Teachings and that they had high respect representing the knowledge of moralistic Buddhism. The virtues of the Sangha represent the harmony between the community and the state, and the traditional path of teaching dharma to disseminate Buddhism to the people. The rejuvenation of the Sangha Institution was for the unity of the country during the reign of King Rama III. The efforts included the compilation of a new version of the Buddhist Canon Pali Tripitaka; the promotion of ‘pariyattitham’ or the text to be used to study the words of the Buddha; the construction of Buddhist monasteries; support of ordinations to institute Buddhist discipline and teachings; and the amelioration of the Sangha Institution. The commitment to rejuvenating the Sangha Institution in this reign has underpinned the viability of the Thai Buddhist tradition in sustaining the administrative stability and consolidation of the institutional development of the Sangha in the contemporary period.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 41-60)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

สองมิติของ “การเดินทาง” ในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 : จินตนาการและภาพสะท้อนสังคม

ดินาร์ บุญธรรม

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาภาพการเดินทางและการสัญจรที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) โดยเลือกศึกษาจากจิตรกรรมฝาผนังของวัดสำคัญที่สร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนั้น ผลการวิจัยพบว่าช่างเขียนในสมัยรัชกาลที่ 3 วาดภาพการเดินทางและการสัญจรในงานจิตรกรรมฝาผนังไว้เป็นจำนวนมาก โดยจำแนกได้ในเบื้องต้นเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติที่เป็นการเดินทางสัญจรแบบสมจริง ได้แก่การเดินทางสัญจรของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ท้าวพระยามหากษัตริย์ ขุนนางและไพร่พลทหาร พ่อค้าและสามัญชนกลุ่มต่างๆ เป็นการเดินทางสัญจรทั้งแบบเดินเท้า และไปด้วยยานพาหนะชนิดต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ และทั้งที่เป็นการเดินทางโดยลำพังและเดินทางเป็นกลุ่ม และทั้งที่เป็นการเดินทางในชีวิตประจำวันและเดินทางเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะ ส่วนมิติที่สองเป็นการเดินทางสัญจรในจินตนาการที่ช่างเขียนถ่ายทอดมาจากการเดินทางแบบเหนือจริงหรือเหนือโลก ที่ปรากฏในพระสูตรหรือวรรณคดีทางพุทธศาสนา ได้แก่การเดินทางสัญจรของพระพุทธเจ้าและพระสาวก เทพยดา พระเจ้าจักรพรรดิราช และผู้มีฤทธิ์อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินทางสัญจรด้วยการเหาะเหินเดินอากาศ มีทั้งที่เหาะไปโดยลำพังตนเองและไปเป็นกลุ่ม และมีทั้งที่เหาะด้วยกำลังฤทธิ์ของตนเองและโดยสารพาหนะวิเศษต่างๆ ไปในอากาศ จากการวิเคราะห์ภาพการเดินทางสัญจรทั้งสองมิติในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ โดยเฉพาะเมื่อศึกษาร่วมกับเอกสารประวัติศาสตร์และวรรณกรรมร่วมสมัย รวมทั้งคัมภีร์และวรรณกรรมทางพุทธศาสนา จะพบว่าในมิติของการเดินทางเหนือจริงจะสะท้อนให้เห็นการใช้จินตภาพของช่างเขียนในการมุ่งถ่ายทอดการอธิบายถึงฤทธานุภาพของนักเดินทางเหนือจริงที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรและวรรณคดีพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังเกิดความเข้าใจเรื่องราวในภาพ ไปจนถึงการเกิดความเชื่อและปีติศรัทธาในเรื่องราวเหล่านั้น ตามคำสอนในพุทธศาสนาที่ว่าผู้มีกำลังฤทธิ์ที่สามารถจะเดินทางสัญจรไปได้ในมิติที่เหนือความจริงอย่างการเหาะเหินเดินอากาศนั้นเป็นผู้วิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป และความวิเศษนั้นเกิดด้วยอำนาจแห่งการสั่งสมบุญบารมีและการบำเพ็ญเพียร ส่วนภาพการเดินทางสัญจรในมิติที่เป็นความสมจริงนั้นสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเป็นภาพสะท้อนของการเดินทางสัญจรที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนทุกระดับชั้นในสังคม
ไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่ว่าจะพิจารณาที่นักเดินทาง ลักษณะการเดินทาง ยานพาหนะ หรือวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ก็ล้วนพบว่าเป็นความตั้งใจของช่างเขียนที่จะสะท้อนภาพสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งการเดินทางสัญจรเป็นกิจกรรมที่เป็นพลวัตรสำคัญของสังคมอย่างเห็นได้ชัด บทความวิจัยเรื่องนี้ยังสรุปสาเหตุของการที่ช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ 3 วาดภาพการเดินทางสัญจรทั้งสองมิติไว้เป็นจำนวนมาก ว่ามาจาก 1) การวางโครงสร้างพื้นที่การนำเสนอภาพจิตรกรรมฝาผนังใหม่ในลักษณะที่ต่างยุคปลายอยุธยาและสองรัชกาลก่อน 2) ความตั้งใจของช่างเขียนที่จะเพิ่ม “ภาพกาก” ลงในจิตรกรรมฝาผนังห้องต่างๆ 3) การขยายเรื่องราวที่นำมาถ่ายทอดเป็นจิตรกรรมฝาผนังให้แหวกจากจารีตเดิม และ 4) ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเฉพาะการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 61-101) 

 

 

Imaginations and Reflections of Social Activities : Journey and Transportation Scenes in Traditional Thai Mural Paintings of Rama III’s Reign

 

Dinar Boontharm

 

Abstract

 

The aim of this research article is to examine various scenes of journeys and transportations depicted in classical Thai mural paintings of Rama III’s reign (A.D. 1824-1851), in which great changes in terms of concept and technique were introduced to classical mural paintings. Mural paintings from different royal monasteries of the third reign, mostly in Bangkok, are surveyed in order to pick the journey and transportation scenes. Journeys and transportations in various ways can be observed in these mural paintings. The results of the research lead to the division of journeys and transportations in the studied mural paintings into two types. The first type sees the scenes of real journeys and transportations, no matter the travelers are the Buddha and his disciples, kings and their entourages, merchants and city dwellers or even soldiers and slaves; what kind of vehicles these travellers used or what the purposes of making the journeys shall be. All the journey scenes in the mural paintings do reflect the journeys and transportations which accurately appear in social life of the Thais during the Early Bangkok Period. The second type of the journey scenes are surreal journeys, mostly by mean of flying. Flying is mentioned in Buddhist texts as the way of making journey for those who had fully accumulated their perfections or those who had gained enlightenment. The Buddha and his Aranhanta disciples, the Chakravatti universe kings and angels are exemplified as the ones who have magic power to make their flying journeys.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 61-101)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

มรดกภูมิปัญญารูปสัตว์หิมพานต์ : งานช่างสิบหมู่ในพระราชพิธีปัจจุบัน

รุ่งอรุณ กุลธำรง

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ความเป็นมาและความสำคัญของรูปสัตว์หิมพานต์ในพระราชพิธีและการสืบทอดรูปสัตว์หิมพานต์ในพระราชพิธีปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า รูปสัตว์หิมพานต์เป็นมรดกภูมิปัญญางานช่างสิบหมู่ในสังคมไทย ซึ่งรูปสัตว์หิมพานต์มีพัฒนาการมาจากรูปสัตว์ ต่อมาจึงเรียกว่ารูปสัตว์หิมพานต์เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รูปสัตว์หิมพานต์มีความเป็นมาและความสำคัญทางด้านศิลปกรรมรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระราชพิธีนั้นมีการจัดสร้างรูปสัตว์หิมพานต์ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระศพพระบรมวงศานุวงศ์เพื่อการเฉลิมพระเกียรติยศด้วยการตกแต่งประดับพระเมรุ และเข้ากระบวนแห่พระบรมศพพระมหากษัตริย์หรือพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาได้ยกเลิกการสร้างรูปสัตว์หิมพานต์เข้ากระบวนแห่เมื่อรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันยังคงมีการสืบทอดการสร้างรูปสัตว์หิมพานต์ตั้งตกแต่งประดับพระเมรุในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ อันเป็นการสืบทอดความเชื่อสมัยโบราณเรื่องการสร้างพระเมรุจากความเชื่อเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุในไตรภูมิกับการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นสมมติเทพ ซึ่งเมื่อสวรรคตแล้วจะเสด็จสู่เขาพระสุเมรุที่สถิตแห่งเทพเจ้าดังเดิม อันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 103-137) 

 

 

Intellectual Heritage on Mythical Figures of Sat Himaphaan : Ten Thai Crafts in Contemporary Royal Ceremonies 

 

Rungaroon Kulthamrong

 

Abstract

 

This article aims to search, compile, study and analyze the historical background and significance of using figures of imaginary animals called as Sat Himaphaan for royal-ceremonial ornamentation and inheritance of decorating this mythical-Himaphaan Forest creatures in Contemporary Royal Ceremonies. The study found that the legendary figures of Sat Himaphaan has been intellectual heritage of Ten Thai Crafts in Thai society which have elaborated from animal-like figures and were known as Sat Himaphaan since the reign of King Rama the Sixth. The tradition and importance of figures of Sat Himaphaan had illustrated in fine arts since the Sukothai period until Rattanakosin era. In royal ceremonial tradition, the figures of Sat Himaphaan has exclusively been introduced for the decoration of Phra Meru and the Royal-Crematory Procession in Royal Funeral Ceremonies of Majesty the King’s royal body and the Members of Royal Family’s bodies to celebrate their solemnity and dignity. In the later time, in the reign of King Rama the Sixth, the tradition of introducing the figures of Sat Himaphaan in the Royal-Crematory Procession had been abrogated. However, at the present time, the inheritance of creating the figures of Sat Himaphaan to decorate Phra Meru in Royal Cremation Ceremonies for the Members of Royal Family has depicted the ideological tradition of Phra Sumeru Mountain in the Triphum Buddhism World with the belief of the King as Demi-God and his rebirth in the Heavenly Devine Kingdom of Mount Sumeru after his death. This has reflected the creation of the legendary figures of Sat Himaphaan has been inherited as cultural Intellectual heritage from the past until contemporary time. An elaborate funeral pyre called Phra Sumeru Merumas be built for Royal Cremations.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 103-137)

 

บทความ / Full Text :  Download

 

 

 

 

นาฏยลีลาพระมหาชนก : การสร้างสรรค์ชาดกในสังคมไทย

สุภัค มหาวรากร

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแสดงร่วมสมัยเรื่อง “พระมหาชนก” ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจัดแสดงเนื่องในงานวันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 24 ผลการศึกษาพบว่า นาฏยลีลาร่วมสมัยเรื่อง “พระมหาชนก” ดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แบ่งการแสดงเป็น 3 องก์ องก์ที่ 1 มิถิลานคร องก์ที่ 2 ความเพียรอันบริสุทธิ์ และองก์ที่ 3 ศรัทธาแห่งปัญญาธรรม มีการเล่าเรื่องโดยใช้สื่อได้แก่ การขับบทเสภา การแสดงหุ่นละครเล็ก การเล่นภาพเงาเคลื่อนไหว การบรรเลงเพลงประกอบวงดุริยางค์ออเคสตรา และการใช้แอนิเมชั่น การแสดงนาฏยลีลาร่วมสมัยเรื่อง “พระมหาชนก” ในครั้งนี้แสดงถึงการรังสรรค์สื่อการแสดงร่วมสมัยเพื่อถ่ายทอดเนื้อเรื่องชาดกที่มีมาในพระไตรปิฎก โดยยังคงเสนอบทบาทสำคัญของพระโพธิสัตว์ ผู้ยังคง “เพียรบำเพ็ญบารมีมิหวาดหวั่น” ท่ามกลางสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 139-163) 

 

 

The Performance of Mahājanaka Creativity of Jatakas in Thai Society

 

Supak Mahavarakorn

 

Abstract

 

This research aims to study the contemporary performance ‘Mahājanaka’ produced by Srinakharinwirote University in the occasion of the 24th HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Day. The study finds that the performance is narrated sequentially according to HM King Bhumibol’s book ‘Mahājanaka’. The performance is divided into 3 acts; the first act- Mithilā Nagara, the second act – Perseverance, and the third act – Faith of Wisdom. Many performing techniques are used to narrate the story, for example, traditional Sepha recitation, puppets, shadow play, symphony orchestra music, and animation. ‘Mahājanaka’ reflects the creativity of a contemporary performance to convey the content of a jātaka, which is rooted from the Tipiāaka. It still represents a significance role of the bodhisatta who ‘determinedly fulfils the perfection’ in the changing Thai Society.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 139-163)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

จุลกฐินวัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ จังหวัดยโสธร : การรื้อฟื้นและประดิษฐ์สร้างพิธีกรรมในปัจจุบัน

สุรชัย ชินบุตร

 

บทคัดย่อ

 

บ้านสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เดิมชื่อบ้านสิงห์โคก เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ โดยการนำของพระวอ ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรื้อฟื้นประเพณีการทำบุญจุลกฐินของชาวบ้านโดยเพิ่มเติมขั้นตอนของพิธีกรรมอย่างหลากหลาย และศึกษาบทบาทของประเพณีจุลกฐินที่มีต่อชาวบ้านสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผู้วิจัยพบว่า ในอดีตประเพณีการถวายผ้าจุลกฐินมีวัตถุประสงค์เพื่อการได้รับอานิสงส์อย่างยิ่งใหญ่ และสิ่งที่พบอีกอย่างคือ เป็นการสร้างประเพณีขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ และความชอบธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าภาพที่สร้างจุลกฐิน ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าประเพณีจุลกฐินของชาวบ้านสิงห์เป็นประเพณีที่ประดิษฐ์และสร้างขึ้นใหม่โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ประเพณีจุลกฐินยังเปลี่ยนบทบาทจากการถวายผ้ากฐินตามฮีตประเพณีเดิม เป็นการระดมทุนเพื่อใช้ในสร้างสาธารณสมบัติของวัด เช่น การสร้างศาลา การสร้างอุโบสถ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้ทุนมาก เกินกำลังที่วัดจะดำเนินการได้ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงต้องมีการระดมทุนเพื่อให้ภารกิจนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี ในการระดมทุนของวัดและชาวบ้านนั้นมีทั้งที่ระดมจากภายในหมู่บ้านและภายนอกหมู่บ้าน การศึกษาเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงการประดิษฐ์พิธีกรรมเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และความชอบธรรมแก่เจ้าภาพผู้สร้างถวายผ้าจุลกฐิน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 165-195) 

 

 

Chula Kathin Festival at Sri That Temple of Singh Village Yasothon province : The Current Revitalization and Invention of the Ritual

 

Surachai Chinnabutr

 

Abstract

 

Singh village, formerly known as Singh Khok, of Mueang district, Yasothon province, has been established by a group of Lao people, led by Phra Wo, emigrating to Champasak of Lao People’s Democratic Republic. This article aims at examining the revitalization of the Chula Katin Z Buddhist robe – offering ) festival, with the addition of several new ritual processes, held by the Singh villagers and to study the function of the festival for the villagers. According to the study, the purpose of the robe – offering festival in the past is to earn great merit. Another finding is that he festival is invented for the sacralization and justification of its hosts. Therefore, it can be believed that the Chula Kathin festival held by Singh villagers is the tradition newly invented by a group of people to achieve their goal . Moreover, the festival’s purpose is changed from traditional robe-offering to money – gathering for the construction of monastery’s public property such as a pavilion or a consecrated assembly hall. These need so much capital for the construction that the temple authority cannot afford to do. Thus’ the authority and villagers have to gather money from inside and outside their village in order to complete their task. This study reflects about the invention of ritual for the sacralization and justification of the hosts who offer the robe.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 165-195)

 

บทความ / Full Text : Download