บทละครเรื่อง เงาะป่า: จากข้อมูลคติชนสู่การสร้างสรรค์วรรณคดี

ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะข้อมูลคติชนที่ปรากฏและวิเคราะห์กลวิธีการนำข้อมูลคติชนมาสร้างเป็นวรรณคดีในบทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษาพบว่า เงาะป่า รวบรวมข้อมูลคติชนของชาวก็อยไว้หลายด้านผ่านบทความขนาดสั้นตอนต้นบทละคร ก่อนที่ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำเสนอสอดแทรกเป็นองค์ประกอบต่างๆ ในเรื่องราวอย่างแนบเนียน ข้อมูลคติชนของชาวก็อยดังกล่าวนับว่าสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางวรรณคดีทุกส่วน ทั้งการผูกปมขัดแย้งหลักที่เกิดจากประเพณีเกี่ยวกับการมีคู่ครองของก็อย ข้อมูลคติชนอย่างเครื่องแต่งกาย อาวุธ ความเป็นอยู่ตลอดจนความคิดที่กล่าวไว้ตอนต้นมานำเสนอผ่านตัวละคร การทำให้ฉากป่ามีสีสันของท้องถิ่น ที่สำคัญคือ การนำเสนอฉากแต่งงานที่นับว่าได้ประมวลคติชนของชาวก็อยแทบทุกด้านไว้ องค์ประกอบต่างๆ ได้นำไปสู่แนวคิดเรื่องความรักที่ยิ่งใหญ่ของตัวละครเอกซึ่งเป็นแนวคิดสากลให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้มีความเป็นมนุษย์ไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่น ส่วนในแง่การแสดง สถานภาพของชาวก็อยทำให้บทละครมีรูปแบบและเนื้อหาแปลกใหม่ไปจากละครไทยดั้งเดิม การบรรจุเพลงและเครื่องแต่งกายก็มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้องกับชาวก็อย จึงกล่าวได้ว่า ข้อมูลคติชนนับเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีเรื่องนี้บนพื้นฐานความสมจริง

 

คำสำคัญ: เงาะป่า, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ข้อมูลคติชน 

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) หน้า 105-135)

 

The Play “Ngo Pa”: From Folklore to Literature

 

Saranpat Bookhok

 

Abstract

               

The article aims at exploring information regarding folklore and at analyzing the application of folklore in “Ngo Pa,” a play composed by King Chulalongkorn (King Rama V). It was found that information on various aspects of Koy people and their beliefs is portrayed throughout the play Ngo Pa, particularly in a short prelude at the beginning of the play. It is evident that information was deliberately asserted in various parts of the play. Furthermore, Koy people’s folklore is shown in relation to every literature element, including the main conflict caused by Koy’s belief in married life. Koy people’s folklore regarding clothes, weapons, lifestyles and beliefs mentioned in the first part of the play is also reflected through characters and forest setting with the vivid hint of the locals. It cannot be denied that the most important scene is the marriage scene, which conveys every aspect of Koy people’s folklore. These elements lead to the theme of powerful love between the main characters, an international theme highlighting the fact that these people are humans just like other groups of people. Regarding performance, Koy people’s status results in new and different patterns and content compared to traditional Thai plays. Music and clothing are furthermore adapted to correspond with the portrayal of the Koy people. In conclusion, information regarding folklore is considered important for this literature based on facts.

 

Keywords: Ngo Pa, King Chulalongkorn (Rama V), Folklore 

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 1 (January – June 2019) Page 105-135)

 

บทความ / Full Text : 4_Saranpat.pdf