ขนมเต่ากับพิธีกรรมเซ่นไหว้ในชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานครและชุมชนบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต

ขนมเต่ากับพิธีกรรมเซ่นไหว้ในชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานครและชุมชนบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต

 

สืบพงศ์ ช้างบุญชู

 

บทคัดย่อ

 

ชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานครและชุมชนบางเหนียว จังหวัดภูเก็ตมีศาลเจ้าจีนฮกเกี้ยนอายุมากกว่าร้อยปีที่ผู้คนในชุมชนต่างให้ความเคารพและศรัทธา ในงานเทศกาลสำคัญประจำปีทั้งสองศาลเจ้าจะมีการเซ่นไหว้ขนมเต่าตามความเชื่อที่สืบต่อกันมา ชาวจีนฮกเกี้ยนเชื่อว่า เต่าเป็นสัตว์มงคล นอกจากเป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนยาว โชคลาภ ความร่ำรวยแล้ว เต่ายังช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ขนมเต่าของทั้งสองชุมชนต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีความแตกต่างจากขนมเต่าทั่วไปของชาวจีนฮกเกี้ยน ขนมเต่าของตลาดน้อยจะเป็นสีขาว ทำจากแป้งสาลี คล้ายซาลาเปา เซ่นไหว้เฉพาะเทศกาลหยวนเซียว ในขณะที่ขนมเต่าของชุมชนบางเหนียวจะเป็นสีแดง ทำจากแป้งข้าวเหนียว เซ่นไหว้เฉพาะประเพณีพ้อต่อในเทศกาลสารทจีน พิธีไหว้ขนมเต่าของทั้งสองชุมชนแสดงให้เห็นถึงการสืบสานและการกลืนกลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ของพวกเขายังคงได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง บางอย่างยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ขณะที่บางอย่างจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

คำสำคัญ: ขนมเต่า ชุมชนตลาดน้อย ชุมชนบางเหนียว ฮกเกี้ยน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562) หน้า 84-111)

 

TORTOISE CAKE OFFERING RITUALS IN TALAD NOI, BANGKOK AND BANGNEAW, PHUKET

 

Seubpong Changboonchu

 

Abstract

 

Hokkien shrines that were built over 100 years ago in Talad Noi, Bangkok and Bangneaw, Phuket are highly revered, especially by the local people of these communities. Every year these two shrines prepare specially-made tortoise cakes as offerings during important festivals, as Hokkiens have long believed that a tortoise is an auspicious animal symbolizing longevity, fortune and wealth, while possessing power to protect people from harm. However, the tortoise cakes made by these two communities are significantly different from the more common Hokkien-style red tortoise cakes seen elsewhere. The Talad Noi cakes are white in color and made from wheat flour, similar to Chinese steamed buns. Talad Noi locals make these primarily as ritual offerings during the Lantern Festival. Bangneaw’s tortoise cakes, on the other hand, are red in color, made of glutinous rice flour, and are mainly prepared as ritual offerings during the Ghost Festival. Both tortoise cake offering rituals reflect the cultural assimilation and continuity in these two communities as their respective beliefs and customs are passed on from generation to generation. However, interestingly, while some of these beliefs and customs have been perfectly preserved in their original forms, others have assimilated to the changing local cultures and social environments.

 

Keywords: : Tortoise Cakes, Talad Noi, Bangneaw, Hokkien

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 2 (July-December 2019) Page 84-111)

 

บทความ / Full Text : 4_Seubpong (1).pdf