พระแท่น : พระพุทธศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรมไทย
ปฐมพงษ์ สุขเล็ก
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอความเชื่อเรื่องพระแท่น และการสักการบูชาในวัฒนธรรมไทย โดยศึกษาจากวรรณคดีจำนวน 3 เรื่องคือ นิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น นิราศพระแท่นดงรัง ของนายมี และนิราศเมืองหลวงพระบาง ของหลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม) ผลการศึกษาพบว่า พระแท่น มี 2 แห่ง คือพระแท่นดงรัง และพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นพุทธสถานสำคัญเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยมาประทับ การสักการะปรากฏทั้งการบูชาด้วยการปฏิบัติและการบูชาด้วยสิ่งของ อาทิ ดอกไม้ มหรสพ และดอกไม้ไฟ อีกทั้งขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนั้นวรรณคดีทั้ง 3 เรื่องจึงมีความสำคัญที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทยเรื่องการสักการบูชาต่อพระพุทธศาสนาช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งยังคงสืบต่อมาถึงปัจจุบัน
คำสำคัญ : พระแท่น, พระพุทธศาสนา, ความเชื่อ, วัฒนธรรมไทย
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 105-128)
Phra-thaen: Buddhism Belief and Thai culture
Phathompong Suklek
Abstract
This article aims to describe the belief of phra-thaen and the Thai way of worship by referring to three pieces of Thai literature: 1) Nirat Phra-thaen Dongrang composed by Novice Klan; 2) Nirat Phra-thaen Dongrang composed by Mr. Mee; and 3) Nirat Luangprabang composed by Luang Thuayhanraksa (Phuem). The results found that there were two phra-thaen – Phra-thaen Dongrang and Pra-thaen Sila-at – that were important Buddhist venues where it is believed that the Lord Buddha visited in his lifetime. Worshipping at these sites has appeared in the form of both practice and material worship, such as fireworks, flowers and amusement, as well as other rituals. Accordingly, the abovementioned literature has retained its importance towards Thai culture regarding Buddhist worship during the Rattanakosin period until the present.
Keywords: Phra-thaen, Buddhism, belief, Thai culture
(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 105-128)
บทความ/ fulltext : 4_Prathompong.pdf