ความเชื่อเรื่องผีมอญของชาวมอญเจ็ดริ้ว: บทบาทในฐานะเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร

ความเชื่อเรื่องผีมอญของชาวมอญเจ็ดริ้ว: บทบาทในฐานะเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร

 

รัตนาวดี สวยบำรุง  

ชัยรัตน์ พลมุข  

กัญญา วัฒนกุล

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาบทบาทด้านการจัดสรรทรัพยากรของความเชื่อเรื่องผีมอญที่มีต่อสังคมชาวมอญเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยเก็บข้อมูลภาคสนามจากวิถีปฏิบัติและพิธีกรรมตามความเชื่อเรื่องผีมอญด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อเรื่องผีมอญแบ่งชาวมอญเจ็ดริ้วออกเป็นตระกูลผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีเต่า ผีไก่ ผีงู และผีปลาไหล นอกจากนี้วิถีปฏิบัติและพิธีกรรมตามความเชื่อเรื่องผีมอญ ยังมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรผ่านข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์สัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงพิธีกรรมกับคนในตระกูลผี “การขโมย” วิถีปฏิบัติพิเศษที่เป็นการอนุญาตเชิงพิธีกรรม และข้อห้ามไม่ให้คนในตระกูลผีจัดงานภายในปีเดียวกัน บทบาทดังกล่าวเป็นจุดมุ่งหมายเบื้องหลังความเชื่อของชาวมอญในอดีตที่ถ่ายทอดและส่งต่อมายังชาวมอญเจ็ดริ้วในปัจจุบัน

 

คำสำคัญ: ความเชื่อเรื่องผีมอญ, การจัดสรรทรัพยากร, บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรม, ชาวมอญเจ็ดริ้ว

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 109-136)

 

 

 

Phi Mon Beliefs of the Chet Rio’s Mon Ethnic Community: Their Function as Resource Allocation Mechanisms

 

Ruttanawadee Suaybumrung
Chairat Polmuk
Kanya Wattanagun

 

 

Abstract

 

The research for this article studied the function of resource allocation toward the Phi Mon beliefs of the Chet Rio’s Mon ethnic community, Amphoe Banphaeo, Changwat Samutsakhon. The field data were collected from their ways of practices and rituals based on the Phi Mon beliefs through
interviews, observations and participatory observations. The study found that the Phi Mon beliefs have divided people in the Mon ethnic community into different spiritual families, namely Phi Tao, Phi Gai, Phi Ngu and Phi Pla Lhai. In addition, their ways of practices and rituals based on the Phi Mon beliefs have played a part in resource allocation through animal symbolism that connects ritual relations with these spiritual family members. Similarly, “stealing” is considered a special practice that provides ritual license and a taboo that forbids members of different spiritual families from celebrating in the same year. These functions are the objectives behind the beliefs of the Mon ethnic community that were developed in the past and have been carried on to the Chet Rio’s Mon ethnic community today.

 

Keywords: Phi Mon beliefs, resource allocation, functions of beliefs and rituals, Chet Rio Mon ethnic community

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 109-136)

 

บทความ/ fulltext : 5_Ruttanawadee.pdf