การแปรรูปวรรณคดีบทละครสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นวรรณกรรมรักร่วมเพศ

การแปรรูปวรรณคดีบทละครสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นวรรณกรรมรักร่วมเพศ

 

จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา

 

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมวรรณกรรมรักร่วมเพศที่แปรรูปจากวรรณคดีบทละครสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและเพื่อศึกษากลวิธีการแปรรูปวรรณคดีบทละครสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นวรรณกรรมรักร่วมเพศ โดยได้รวบรวมตัวบทวรรณกรรมรักร่วมเพศที่แปรรูปจากวรรณคดีบทละคร ทั้งที่เผยแพร่ตามเว็บไซต์และจำหน่ายในรูปแบบ eBook และรูปเล่ม ผลการศึกษาพบว่าการแปรรูปวรรณคดีบทละครสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นวรรณกรรมรักร่วมเพศ นิยมนำวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์มาดัดแปลงเป็นวรรณกรรมรักร่วมเพศมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมรักร่วมเพศแบบชายรักชาย สำหรับกลวิธีการแปรรูปวรรณคดีพบว่า มีการดัดแปลงโครงเรื่องและเนื้อเรื่อง ๓ ลักษณะ ได้แก่ การใช้โครงเรื่องและเนื้อเรื่องตามวรรณคดีเดิม การใช้โครงเรื่องแบบข้ามภพข้ามชาติ และการสร้างสรรค์เนื้อเรื่องใหม่ การดัดแปลงตัวละคร พบความน่าสนใจ ๒ ลักษณะ ได้แก่ การจับคู่ความสัมพันธ์ของตัวละครใหม่ และการดัดแปลงชื่อและลักษณะตัวละคร ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการแปรรูปวรรณกรรมนั้น มาจากรสนิยมของผู้แต่ง ขนบนิยมของแนวเรื่อง และความต้องการผู้อ่าน

 

คำสำคัญ: การแปรรูปวรรณกรรม, วรรณคดีบทละครสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น,วรรณกรรมรักร่วมเพศ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2566) หน้า 103-142)

 

 

 

 

The Transformation of Performance Literature of the Early Rattanakosin Period into Same-Gender Literature

 

 

Jackkrit Duangpattra

 

 

Abstract

 

The objective of this research was to examine the techniques for transforming performance literature of the Early Rattanakosin Period into same-gender literature. The information was gathered from websites, e-book and printed formats. According to the study, the most popular performance literature of the Early Rattanakosin Period to be converted into same-genderliterature was Ramakien, mainly involving male characters. In terms of literary transformation techniques, it was discovered that there were three types of plot and story modifications: using the plot and story of the original literature, using an incarnation storyline, and creating a completely new story. Two interesting characteristics for character modification were discovered: a new character relationship and modifying the names and personalities of the characters. Two types of setting adaptation were discovered: using the original setting and changing the setting to be in the modern period. The personal tastes of the authors, the norm of the story and the needs of the readers were the factors that influenced the transformation of the literature.

 

 

Keywords: Literature Transformation, performance literature of the Early Rattanakosin Period, Same-Gender Literature

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 19 Number 1 (June 2023) Page 103-142)

 

 

บทความ/ fulltext :4_Jackkrit.pdf