ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านในชุมชนไทลื้อ บ้านไม้ลุงขน อ.แม่สาย จ.เชียงราย : การสืบทอดและพลวัตภายใต้บริบทใหม่

อัมพิกา ยะคำป้อ

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตและบทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านที่บ้านไม้ลุงขน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า พิธีที่สำคัญที่เกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านในชุมชนไทลื้อมี 3 พิธี คือ พิธีเลี้ยงเจหรืองานประจำปีศาลเจ้าพ่อคำแดง พิธีส่งเคราะห์บ้านและสืบชะตาบ้าน และพิธีเลี้ยงเมือง พิธีกรรมทั้ง 3 พิธีนี้แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดความเชื่อเรื่อง ผีอารักษ์บ้านของชาวไทลื้อ ขณะเดียวกันความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับอารักษ์บ้านก็มีพลวัต คือ การย้ายศาลอารักษ์บ้านตามธรรมเนียมการตั้งศาลแต่เดิมที่เอาไว้ท้ายหมู่บ้านมาตั้งใหม่ใจกลางหมู่บ้านเพื่อให้อยู่ในที่ที่สะดวกต่อการเซ่นสรวงบูชา การยอมรับเอาชื่อผีอารักษ์เมืองเชียงใหม่และผีอารักษ์เมืองจากสิบสองปันนาเป็นผีอารักษ์บ้าน การเซ่นสรวงบูชาอารักษ์บ้านด้วยอาหารมังสวิรัติ และธรรมเนียมการปฏิบัติตนของผู้เข้าร่วมพิธีกรรม ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นพลวัตของความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านของชาวไทลื้อ เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริบทใหม่ คือที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ก็มีการยอมรับ และปรับวัฒนธรรมของชาวไทยวนเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทลื้อ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2555) หน้า 1-18) 

 

 

Dynamism and Role of the Village Guardian Spirit Belief and Ritual in Ban Mai Lung Khon, Mae Sai District, Chiangrai Province

 

Ampika Yakhampor

 

Abstract

 

This paper aims to study the dynamism and role of the village guardian spirit belief and ritual of the Tai Lue people in Ban Mai Lung Khon, Mae Sai District, Chiangrai Province. The research found that there are three important village guardian spirit rituals in this Tai Lue village: the annual worship of Chao Poh Kham Daeng; the Song Kroh Ban ritual; and Liang Mueang, village guardian spirit ritual. Although the three rituals reflect the transmission of Tai Lue belief in guardian spirits, the study found a certain dynamism in the belief and the rituals. Firstly, there was a physical dynamism in the changing of the location of the village guardian spirit shrine’s from the end of the village to the village center to provide for easier access for the people to the sacred space. Secondly, the name of the northern Thai city guardian spirit and the name of the Sip Song Panna city guardian spirit, Chao Poh Kham Daeng, was adopted to be the name of the Ban Mai Lung Khon village guardian spirit. Moreover, certain components of the ritual were changed to correspond with the change of the village’s social context. Overall, the analysis identifies the dynamism and role of the belief and ritual of the Tai Lue village guardian spirit in the new social context at Mae Sai, Chiangrai, Thailand, particularly the adoption of northern Thai beliefs as integrated with Tai Lue traditional beliefs.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 1 (February – July 2012) Page 1-18)

 

บทความ / Full Text : Download