ศิราพร ณ ถลาง
บทคัดย่อ
ความเชื่อเกี่ยวกับผีอารักษ์เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทและชาติพันธุ์ต่างๆ ในอุษาคเนย์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อนำเสนอบทสังเคราะห์ลักษณะการดำรงอยู่และบทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์ในสังคมไทยปัจจุบันจากกรณีศึกษา 2 กรณี คือ กรณีศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์บ้านของชาวไทลื้อที่บ้านไม้ลุงขน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ กรณีศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับอารักษ์เมืองเชียงใหม่ ผลจากการสังเคราะห์ข้อค้นพบที่สอดคล้องกันจากทั้งสองกรณีศึกษาเป็นประเด็นเรื่องพลวัตและการผสมผสานทางความเชื่อและพิธีกรรมระหว่างความเชื่อเรื่องผีอารักษ์ของชาวไทลื้อกับชาวไทยวนล้านนา และระหว่างความเชื่อเรื่องผีอารักษ์กับพุทธศาสนา นอกจากนั้น ทั้งสองกรณีศึกษายืนยันว่าความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์ยังคงมีบทบาททางจิตใจและบทบาททางสังคม
ประการที่ 2 บทความนี้นำเสนอบทอภิปรายอันเป็นข้อสังเกตจากภาคสนามของผู้เขียนที่ได้เห็นปรากฏการณ์ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีอารักษ์ในดินแดนชนชาติไทกลุ่มต่างๆ ในหลายแง่มุม ทั้งในฐานะความเชื่อดั้งเดิม ทั้งปรากฏการณ์ทางความเชื่อเรื่องผีอารักษ์ที่มีการผนวกรวมกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษและผีวีรบุรุษ และปรากฏการณ์การใช้ผีอารักษ์ในฐานะเป็นสื่อแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในบริบททางสังคมไทยในปัจจุบัน
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2555) หน้า 41-68)
Persistence of Belief and Ritual Concerning Guardian Spirits in Current Thai-Tai Societies
Siraporn Nathalang
Abstract
The belief in guardian or territorial spirits is a kind of indigenous belief of Tai speaking people and other ethnic groups in Southeast Asia. This paper has two objectives. The first objective is to synthesize the persistence of belief and ritual concerning guardian spirits in the present-day context of Thai society from two case studies. The first case study is the study of the village guardian spirits at Ban Mai Lung Khon, Mae Sai District, Chiangrai Province and the second is the study of the Chiangmai city guardian spirit. The two case studies reveal common findings regarding the dynamism and the syncretism of the belief in guardian spirits. The dynamistic aspect in the first case study concerns the integration of the guardian spirit belief of the Tai Lue, newcomers from Sipsongpanna who settled in Ban Mai Lung Khon, and that of the Tai Yuan, the local northern Thai people. The second case study reveals the syncretistic aspect of the integration between an indigenous belief in guardian spirits and Buddhism.
The second objective of this paper is to present an extended discussion concerning the persistence and the dynamism of guardian spirit belief in Thai and Tai societies with respect to several aspects from the observation of the author’s field experience in Tai speaking societies: guardian spirits as Tai indigenous beliefs; the current phenomena of the integration between guardian and ancestral spirits and the spirits of the local heroes in several cases in Thai-Tai societies; and the use of guardian spirit shrines as an expression of Tai ethnic identity in the social context of present-day Thailand.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 1 (February – July 2012) Page 41-68)
บทความ / Full Text : Download