วารสารไทยศึกษา - ปีที่ 9 ฉบับที่ 2
1) พุทธคุณ : ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ หรือพระคุณความดีที่ต้องนำไปปฏิบัติ / ธีรโชค เกิดแก้ว
2) อุโบสถเจดีย์ : พุทธศิลปสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว / นภัส ขวัญเมือง
3) ความก้าวหน้าในศิลปหัตถกรรมการเย็บปักถักร้อยของสตรีไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว / ดลยา เทียนทอง
4) การดำรงอยู่ของงานช่างสนะในสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ / รุ่งอรุณ กุลธำรง
5) เพลงพื้นบ้านในบทละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ / รัตนพล ชื่นค้า
6) สัญลักษณ์ข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในพิธีถวายข้าวพีชภาคและเสียค่าหัว / สุรชัย ชินบุตร
7) การพัฒนาการพาณิชยนาวีของไทย / สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง
8) สถานภาพชายฝั่ง ความมั่นคงในชีวิต และวิถีชุมชนชายฝั่งทะเลไทย / ศิริวรรณ ศิริบุญ
แนะนำหนังสือ
“ตำนาน” / อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
พุทธคุณ : ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ หรือพระคุณความดีที่ต้องนำไปปฏิบัติ
ธีรโชค เกิดแก้ว
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอสาระสำคัญของพุทธคุณ คือพระคุณของพระพุทธเจ้าที่เกิดจากการตั้งความปรารถนาอย่างแน่วแน่ การบำเพ็ญบารมีมาอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาตนตามหลักอริยมรรคจนกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสรุปมี 3 ประการ คือพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งแก่นแท้ของพุทธคุณไม่ใช่เรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ หรืออำนาจที่ดลบันดาลเรื่องต่างๆ ให้แก่ผู้บูชา แต่เป็นเรื่องของปัญญา ความบริสุทธิ์ และพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ที่ชาวพุทธจะต้องบูชาด้วยการปฏิบัติตามหลักคำสอนที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ไม่ใช่มีไว้เพื่อสวดอ้อนวอนหรือร้องให้ดลบันดาลในเรื่องที่ต้องการ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และรักษาสัจธรรมของพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไป
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 1-39)
Buddhist Virtues: Sacredness or the Ideals for Practice
Teerachoot Kerdkeaw
Abstract
This article aims to clarify the meaning of Buddhist virtues that originally referred to the ideals of the Lord Buddha. Buddhist virtues are the single-minded wish, diligent meditation, and self-cultivation according to the noble path (magga). These are the processes of the Lord Buddha used to achieve enlightenment. In other words, Buddhist virtues are the wisdom, the purity, and the compassion of the Lord Buddha. The essence of these virtues is not the sacredness or miracles that happen to worshippers. Instead, it is the ideal achieved through these three practices of the Lord Buddha which all Buddhists should worship by following in his footsteps.
Buddhist virtues, in conclusion, are not what happen when praying or by expecting miracles. On the contrary, righteous perception and practice are the sole way for preserving Buddhism and passing it down to later generations.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 1-39)
บทความ / Full Text : Download
อุโบสถเจดีย์ : พุทธศิลปสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นภัส ขวัญเมือง
บทคัดย่อ
พระอารามที่ถูกสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งสิ้น ๖ พระอารามด้วยกันคือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดสัตนารถปริวัตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดนิเวศธรรมประวัติ วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม บทความนี้นำเสนอถึงความสำคัญของอาคารหลังเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ในวัดอัษฎางคนิมิตร ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสูง โดยพื้นที่ในชั้นฐานสูงนี้ถูกใช้งานเป็นอุโบสถ แสดงให้เห็นว่าเป็นการรวมอาคารเจดีย์ และอาคารอุโบสถเข้าไว้ในอาคารหลังเดียวกัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า “อุโบสถเจดีย์” เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มูลเหตุของการเกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมอุโบสถเจดีย์นั้น เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าเกิดขึ้นจากพัฒนาการของการใช้พื้นที่ภายในเจดีย์ โดยปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากต่อการใช้พื้นที่ภายในคือโครงสร้างของอาคาร ซึ่งอุโบสถเจดีย์วัดอัษฎางคนิมิตร ได้นำเอาวิทยาการโครงสร้างแบบตะวันตกมาผนวกกับรูปทรงอาคารแบบเจดีย์ จึงสามารถใช้งานพื้นที่ภายในเจดีย์ (เป็นอุโบสถ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกประการหนึ่งซึ่งอาจเป็นมูลเหตุของการเกิดอุโบสถเจดีย์คือ พัฒนาการของความพยายามในการรวมอาคารอุโบสถและเจดีย์ไว้เป็นอาคารเดียวกัน โดยเริ่มสังเกตถึงความพยายามนี้ได้ในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งประดิษฐานเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กไว้ภายในหอสูงของอาคารอุโบสถอันแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงที่ตั้งอาคารอุโบสถและเจดีย์ ซึ่งปกติจะแยกเป็นอิสระจากกัน พัฒนามาสู่ตัวอาคารที่วางตัวประชิดกันทางด้านข้าง และสุดท้ายพัฒนาสู่การผสานรูปทรงตัวอาคารเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยการวางตัวอาคารซ้อนกันโดยมีพระเจดีย์เทินอยู่ด้านบนอาคารอุโบสถ ดังปรากฏที่อุโบสถเจดีย์วัดอัษฎางคนิมิตร
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 41-71)
The Pagoda-Hall : A New Form of Buddhist Architecture in the Reign of King Rama V
Napat Kwanmuang
Abstract
Six royal temples were ordered to be built during the reign of King Rama V: Ratchabopitsahtimahasimaram Temple, Sattanatpariwat Temple, Dhebsirin Temple, Niwetdhammaprawat Temple, Aatsadangnimit Temple, and Benjamabopitdusitwanaram Temple.
The study focused only on the main hall of Aatsadangnimit Temple, which was built in a bell-shaped with a high base. The base functions as a hall for Buddhist ceremonies. Therefore, the structure is the combination of a pagoda and a hall and is referred to as a ‘Pagoda-Hall’. This style never existed before the reign of King Rama V.
The reason for constructing the pagoda-hall was to maximize space utilization in the pagoda. The pagoda-hall adopted Western-style construction in order to do so. There had been previous efforts to combine a hall and pagoda in a single building. An example of this is the hall of Niwetdhammaprawat Temple, where a small bell-shaped pagoda is placed in a platform in the hall.
Usually temple complexes include a hall and a pagoda that are built separately. However, as temple architecture evolved, these two structures began to share side walls, and finally were constructed as a single building by placing the base of the pagoda on top of the hall as illustrated in the pagoda-hall at Aatsadangnimit Temple.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 41-71)
บทความ / Full Text : Download
ความก้าวหน้าในศิลปหัตถกรรมการเย็บปักถักร้อยของสตรีไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดลยา เทียนทอง
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการเรื่องนี้มุ่งศึกษาความก้าวหน้าในศิลปหัตถกรรมการเย็บปักถักร้อยของสตรีไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ค้นพบว่าความก้าวหน้าที่ปรากฏมีหลายลักษณะ กล่าวคือ สตรีไทยจำนวนหนึ่งได้มีโอกาสไปศึกษาวิชาการเย็บปักถักร้อยจากต่างประเทศและนำความรู้ใหม่ที่ได้รับกลับมาสอนถ่ายทอดให้สตรีไทยคนอื่นๆ ทั้งยังมีครูชาวต่างประเทศมาสอนและอบรมถ่ายทอดแก่สตรีไทยในโรงเรียนและเพื่อประกอบอาชีพ และในขณะเดียวกันสตรีไทยในกลุ่มราชสำนักฝ่ายในก็ถูกฝึกฝนอบรมอย่างเคร่งครัดให้พัฒนาฝีมือตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ผลงานการเย็บปักถักร้อยได้รับการยอมรับทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าในศิลปหัตถกรรมการเย็บปักถักร้อยของสตรีไทยดังกล่าวยังเป็นผลมาจากพระราชดำริริเริ่มของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 73-97)
The Advancement of Thai Traditional Craft and Needlework of Thai Women in the Reign of King Chulalongkorn (Rama V)
Dollaya Tiantong
Abstract
This article explores the advancement of Thai traditional craft and needlework of Thai women in the reign of King Chulalongkorn (Rama V). The study found that a number of Thai women had an opportunity to study craft and needlework overseas and came back to transfer the new knowledge and skills to other Thai women in their motherland. In addition, foreign masters came to Thailand to train Thai women in handicraft skills in both formal and non-formal education, to help establish their occupations. At the same time, Thai females working under the royal court of Siam had been strictly trained in craft and needlework so that their professional skills were highly developed. Their excellent handicrafts were widely recognized on both domestic and international levels. The advancement in Thai craft and needlework was created by Thai women from their own original ideas. Her Majesty Queen Saovabha Phongsri (Her Majesty Queen Mother Sri Bajrindra) and Her Majesty Queen Savang Vadhana (Her Majesty Sri Savarindira Grandmother) were the key figures because of their determination to enhance the role and status of Thai women to reach an international standard. In addition, both Her Majesty the Queens had the initiative to conserve and inherit Thai traditional craft and needlework as the heritage of the kingdom and to support the occupations of Thai women in the future.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 73-97)
บทความ / Full Text : Download
การดำรงอยู่ของงานช่างสนะในสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รุ่งอรุณ กุลธำรง
บทคัดย่อ
งานช่างสนะในสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นงานช่างประเภทหนึ่งของงานช่างสิบหมู่ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม งานช่างราชสำนัก พระมหากษัตริย์ และพระราชพิธี บทความวิจัยนี้จึงมุ่งค้นหาภูมิหลังของช่างสนะ วิเคราะห์การดำรงอยู่ของงานช่างสนะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์กับเอกสารต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ช่างสนะในสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้สืบทอดวัฒนธรรมของช่างสนะมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา คือช่างสนะเป็นช่างหลวงในพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 – รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 – รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันไม่ปรากฏชื่อของช่างสนะแล้ว เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงบริบททางการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม แต่การดำรงอยู่ของงานช่างสนะยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจน ทั้งเครื่องทรง เครื่องสูง เครื่องตกแต่งราชรถ วอ เรือพระราชพิธีที่จัดทำด้วยผ้าและงานปักสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีสำคัญ ซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) อันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 99-130)
The Existence of Chang Sa-na or Sewing Work in Thai Society in the Rattanakosin Era
Rungaroon Kulthamrong
Abstract
Chang Sa-na (sewing work) in Thai society in the Rattanakosin Era is one category of handcraft in the traditional Ten Thai Crafts encompassed in the culture and court inspired craftsmanship of the king for royal ceremonies. This article aims to search the tradition of Chang Sa-na and to analyze the existence and performance of the practices of Chang Sa-na by an historical analytical approach and documentary research. The research results reveal that Chang Sa-na craft in the Rattanakosin Era has inherited the traditional cultural craft practices from the Ayutthaya period. Chang Sa-na had been craftsmanship under the royal patronage of the Grand Palace and the Front Palace in the reign of King Rama I onward to the reign of King Rama VI. Then, during the reign of King Rama VII to the reign of King Rama IX, or the contemporary King, Chang Sa-na has disappeared because of the changing context of political administration, society and culture. However, the existence of the craft of Chang Sa-na has continued to be practiced in royal dress (Khrueang Song), royal regalia (Khruang Sung), ornamentation of ceremonial vehicles, ceremonial palanquins, and royal barges decorated with cloth and embroidery for the King in important royal ceremonies. This reflects the cultural inheritance existing in the contemporary time with respect to valuable art and cultural heritage in the Rattanakosin Era.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 99-130)
บทความ / Full Text : Download
เพลงพื้นบ้านในบทละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
รัตนพล ชื่นค้า
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์รูปแบบเพลงพื้นบ้านในบทละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างฉันทลักษณ์เพลงพื้นบ้านกับฉันทลักษณ์กลอนบทละคร ตลอดจนวิเคราะห์บทบาทของเพลงพื้นบ้านในการแสดงละครดึกดำบรรพ์
ผลการวิจัยพบว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเลือกใช้เพลงพื้นบ้านในบทละครดึกดำบรรพ์จำนวน ๕ เรื่อง ได้แก่เรื่องคาวี อิเหนา สังข์ศิลปชัย ขุนช้างขุนแผน และพระมณีพิชัย ปรากฏรูปแบบเพลงพื้นบ้าน 4 ประเภท ได้แก่ เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก เพลงโต้ตอบ และเพลงประกอบการละเล่นของผู้ใหญ่
บทบาทของเพลงพื้นบ้านในการแสดงละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีทั้งสิ้น 4 ประการ คือ 1. สร้างความสนุกสนานบันเทิงในการแสดง 2. สร้างความสมจริงในการแสดง 3. เป็นหนึ่งในจุดขายทางวัฒนธรรมของชาติ และ 4. เป็นหลักฐานบันทึกการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเพลงพื้นบ้านจากวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 131-160)
Folk Music in the Classical Dance Drama of H.R.H. Prince Narisaranuvattiwongse
Rattanaphon Chuenka
Abstract
The purpose of this research includes the exploration and analysis of folk music patterns in the classical dance dramas or “Lakorn Duekdamban” of H.R.H. Prince Narisaranuvattiwongse in order to explore the relationship of poetic forms between folk music and verse drama and analyze the role of folk music in the classical dance dramas.
According to the research findings, H.R.H. Prince Narisaranuvattiwongse used folk music in five classical dance dramas, Khawi, Inao, Sangsilpachai, Khun Chang Khun Phaen and Phra Maniphichai. In this regard, four patterns of folk music can be found: lullabies, songs for children’s plays, dialogue songs and songs for adult plays.
In addition the folk music used in the classical dance dramas of H.R.H. Prince Narisaranuvattiwongse has four roles: 1) to create enjoyment and amusement of the performance, 2) to enhance the realness of the performance, 3) to present national cultural uniqueness, and 4) to mark the change of folk music from oral to written literature.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 131-160)
บทความ / Full Text : Download
สัญลักษณ์ข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในพิธีถวายข้าวพีชภาคและเสียค่าหัว
สุรชัย ชินบุตร
บทคัดย่อ
พระธาตุพนม เป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนสองฝั่งแม่น้ำโขง ทุกปีในวันขึ้น 8 คํ่า เดือน 3 จะมีงานนมัสการพระธาตุพนม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สัญลักษณ์ พิธีถวายข้าวพีชภาคและการเสียค่าหัวของกลุ่มคนที่เรียกว่า “กลุ่มข้าโอกาส” และการดำรงอยู่ของกลุ่มข้าโอกาสวัดพระธาตุพนมในสังคมปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่า “ข้าวพีชภาค” ซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตร อันได้แก่ ข้าว ข้าวโพด กล้วย อ้อย และผลิตผลอื่นๆ ที่ได้จากที่ดินของวัดซึ่งเรียกว่า นาจังหัน (ที่ดินที่มีผู้อุทิศถวายให้กับวัด) ซึ่งข้าโอกาสได้นำมาถวายแด่องค์พระธาตุพนมเป็นสัญลักษณ์ของข้าโอกาสโดยเฉพาะข้าวสารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาถวาย สมัยก่อนข้าวที่นำมาถวายจะเป็นข้าวเปลือกแต่ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นข้าวสารเนื่องจากพระภิกษุจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ข้าวจึงเปรียบได้กับข้าโอกาสที่ยังเป็นแรงงานรับใช้พระสงฆ์และองค์พระธาตุพนม ส่วนผลิตผลอย่างอื่นเป็นบริวารที่ทำให้ข้าวเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้พิธี “เสียค่าหัว” หรือพิธีถวายเงินเพื่อบำรุงวัดพระธาตุพนมโดยนำขันหมากเบ็ง เทียนรอบหัวคาคิง และปัจจัยที่เป็นเงิน อันเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องบรรณการมาถวายแด่พระมหากษัตริย์ทั้ง 5 พระองค์โดยมีพระธาตุพนมเป็นตัวแทน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเลิกทาสแล้ว ข้าโอกาสก็ค่อยๆ หายไปจากวัดพระธาตุพนม แต่ในปัจจุบันนี้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม ยังมีกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า ข้าโอกาสได้นำข้าวพีชภาคและการเสียค่าหัวมาถวายแด่องค์พระธาตุพนมทุกปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของข้าโอกาสในยุคปัจจุบัน การศึกษาเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและศรัทธาของคนอีสานและชาวลาวประเทศ สปป.ลาว ต่อองค์พระธาตุพนมอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมืองที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงตลอดมา
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 161-189)
Symbols of the Monastery Serfs of Wat Phra That Phanom in Khao Phichaphagaya Offering and Sia Kha Hua Ritual
Surachai Chinabutr
Abstract
Phra That Phanom, originally located on Doi Kapanakiri or Phu Kam Pra, is a spiritual center of the Mekong riverine people, located in That Phanom District of Nakorn Phanom Province. Annually, on the full moon of the third lunar month, the ritual of paying homage to Phra That Phanom is held. This paper aims to analyze the symbolization of the rites of the Khao Phichaphagaya offering and the Sia Kha Hua ritual to the Kha-okasa group (monastery serfs) of Wat Phra That Phanom and their existence in modern society.
It has been discovered that Khao Phichaphagaya refers to agricultural crops including rice, corn, bananas, and sugar cane, harvested from the monastery land, called a windmill field, donated to the monastery. On the 8th day of the 3rd lunar month, the monastery serfs offer Khan Mak Beng, and golden and silver flowers, symbolizing the contributions, of the five kings who constructed Phra That Phanom. In addition, they perform the Sia Kha Hua ritual (donations for maintaining the monastery). Terminated by the Proclamation of Slave Independence by King Rama V, the monastery serfs of Wat Phra That Phanom gradually disappeared from the monastery. However, even arnidst rapid social change, these inherited rites at Wat Phra That Phanom are annually performed. This study reflects the monastery serfs’ beliefs in Phra That Phanom in modern society.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 161-189)
บทความ / Full Text : Download
การพัฒนาการพาณิชยนาวีของไทย
สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติการพาณิชยนาวีไทยซึ่งเป็นกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศทางเรือรูปแบบหนึ่ง ที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานและเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความได้เปรียบในทำเลที่ตั้ง ทำให้เมืองราชธานีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะอยุธยาดำรงฐานะเมืองท่าสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการต่อเรือที่สำคัญ การพาณิชยนาวีในยุคที่กษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางการค้าควบคู่กับระบบการค้าแบบผูกขาดสินค้าในระบบพระคลังสินค้า และบทบาทของชาวจีนในการดำเนินการค้าทางทะเลได้นำความมั่งคั่งมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย เมื่อรูปแบบการค้าที่ต้องเลิกระบบการผูกขาดการค้าทำให้การพาณิชยนาวีไทย มีการเปลี่ยนจารีตการค้าเป็นรูปแบบเอกชนมากขึ้น ทำให้การพัฒนาการพาณิชยนาวีของไทยต้องปรับเปลี่ยนระบบการค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 191-228)
Developing of Thai Merchant Marine
Sunanta Charoenpanyaying
Abstract
This article aims to study the history of the Thai Merchant Marines, which is a form activity of international trade that developed since ancient times and which prospered in the Ayutthaya, Thonburi and early Rattanakosin eras. With the advantage of the location of the capital city in the lower Chao Phraya River, Ayutthaya became a major port of trade and shipbuilding center. The “Monopoly System” of the royal warehouse was an important trade policy, as well as the role of the merchant marines of the Chinese people, which brought prosperity to the country. When the trading system of the monopoly for commercial products broke up, the Thai Merchant Marines was transformed from the government sector to the private sector. As a result, the development of Thai Merchant Marines adjusted to be competitive with foreign trade.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 191-228)
บทความ / Full Text : Download
สถานภาพชายฝั่ง ความมั่นคงในชีวิต และวิถีชุมชนชายฝั่งทะเลไทย
ศิริวรรณ ศิริบุญ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องของความมั่นคงในชีวิตของชุมชนชายฝั่งในเรื่องของ “การกินดี อยู่ดี” โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ 1) ความตระหนักของชุมชนชายฝั่งต่อสถานภาพชายฝั่ง 2) การกัดเซาะชายฝั่ง 3) ทรัพยากรป่าชายเลน และ 4) ทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งผลการศึกษาทั้งจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิที่รวบรวมทั้งจากงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่า ชุมชนชายฝั่งตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศชายฝั่งว่าอยู่ในทิศทางที่ไม่น่าพอใจ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การสูญเสียพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน และการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำส่งผลต่อความมั่นคงในชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม และวิถีชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งมากขึ้น ไม่ผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว และมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรป่าชายเลนและสัตว์น้ำว่าเป็นเสมือนระบบสวัสดิการชายฝั่ง ก่อให้เกิดวิถีเศรษฐกิจแบบพอเพียง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงไม่ใช่เพื่อความมั่งคั่ง เห็นความสำคัญของการจัดการที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ใช่การจัดการแบบมีพิมพ์เขียว หรือการจัดการแบบรวมอำนาจหรือสั่งการ รวมทั้งให้ความสำคัญกับรูปแบบของการจัดการแบบ “ประชาสังคม” มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ และภาคประชาชน
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 229-280)
Coastal Conditions, Human Security and Ways of Live of Thai Coastal Communities
Siriwan Siriboon
Abstract
This study is an attempt to examine the relationship between coastal conditions and human security. Human security has been defined in terms of the well-being of community members in two aspects; shelters and food security. In this analysis, four components were axamined: the awareness of the community of the coastal situation, coastal erosion, mangrove forests, and sea animals. The data used for the analysis was accessed from both primary and secondary data sources. A survey was perfomed by sending questionnaire to the village headmen by mail. The findings from the survey and the information from secondary data indicates that coastal communities are aware of the poor conditions of coastal resources and the environment. In addition, it has been found that the poor coastal conditions are highly associated with harm to human security and the quality of life of coastal communities.
Community security and the quality of life of community members has been threatened by the crisis of coastal erosion, the loss of mangrove and the reduction of sea animals. These phenomena have resulted in a change of attitude, values and ways of life of community members. The community members realize that coastal management cannot be done solely by the government sector. Cooperation and participation from the coastal community is needed. Coastal communities have changed their view on the value of mangroves and sea animals. Mangroves and sea animals are now viewed as an important coastal welfare system for a sufficiency economy. Coastal resources are important components for economic security not just for wealth. Participation from local communities is needed. Coastal management should be in the form of “Bottom-up Management” not “Top-down Management”. Centralization and management with a blue print should be avoided. Management under the concept of “Civil Society” and building networks among governmental organizations, non-governmental organizations, the private sector and coastal communities is recommended.
(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 2 (August 2013 – January 2014) Page 229-280)
บทความ / Full Text : Download
แนะนำหนังสือ “ตำนาน”
อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
ตำนาน ถือเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้ง ตำนานมีอยู่หลากหลายลักษณะด้วยกัน ตั้งแต่ตำนานที่อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ ตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ตำนานเกี่ยวกับสถานที่ ตำนานเกี่ยวกับที่มาของเมืองหรืออาณาจักร รวมทั้งตำนานทางพุทธศาสนา
หนังสือรวมบทความเรื่อง ตำนาน ของอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่เชิญชวนให้เราตั้งคำถาม ขบคิด และคำนึงถึงปัญหาสำคัญของการอ่านหรือการศึกษาตำนาน ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวเกริ่นไว้ในคำนำนั่นคือ การที่ผู้ศึกษาหรือใช้ประโยชน์จากตำนานเข้าไมถึ่งสาระที่แท้จริงในตำนานเรื่องต่างๆ ทำให้เกิดการตีความหรือใช้ตำนานอย่างไม่ถูกต้อง เช่น นักวิชาการบางคนมองว่าตำนานเป็นเรื่องเล่าเก่าแก่จึงไม่น่าเชื่อถือ ขาดหลักฐานที่เป็นเหตุเป็นผล หรือเป็นเรื่องไร้สาระจนไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้ หรือบางครั้ง ตำนานก็ถูกนำไปใช้อย่าง “เกินคุณค่า” กล่าวคือ นำเรื่องราวในตำนานมาเป็นข้อมูลเพื่อแสดงเรื่องราวในอดีตอย่างเป็นจริงเป็นจัง โดยมิได้ศึกษาทำความเข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้เสียก่อน
อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร จึงเสนอความคิดให้ทำความเข้าใจว่า ตำนานของไทยไม่ว่าจากท้องถิ่นใด เป็นสิ่งที่บันทึกและถ่ายทอด “ความรู้สึกนึกคิด” ของคนโบราณในช่วงเวลาที่ตำนานเรื่องนั้นได้รับการแต่งหรือคัดลอกบอกเล่าสืบต่อกันมา และการจะเห็น “ความรู้สึกนึกคิด” เหล่านั้นได้ ผู้อ่านจำเป็นจะต้องมีประสบการณ์การอ่านหรือมีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับตำนานเรื่องต่างๆ พงศาวดาร คัมภีร์ คำสอน และความเชื่อทางพุทธศาสนา จึงจะสามารถท ความเข้าใจต นานเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างถ่องแท้ หรือไม่คลาดจากความเป็นจริงมากจนเกินไป เมื่ออ่านตำนานแล้ว ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นแก่น อะไรเป็นเปลือกของตำนาน ผู้อ่านอาจต้องทำความเข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏในตำนานอาจไม่ใช่ “ข้อเท็จจริง” เพราะเนื้อความในตำนานเรื่องหนึ่งอาจแย้งกับอีกเรื่องหนึ่งเมื่อกล่าวถึงบุคคลหรือเหตุการณ์เดียวกัน แต่ถ้าหากอ่านอย่างวิเคราะห์ก็จะเห็นว่าตำนานนั้นบันทึก “ความรู้สึกนึกคิด” อะไรของผู้เขียน รวมทั้งบันทึกความเป็นไปของยุคสมัยที่แต่งตำนานเรื่องนั้นอย่างไร
ในหนังสือรวมบทความเล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอแนวทางที่ใช้ในการอ่านและทำความเข้าใจตำนานผ่านบทความทั้งหมด 9 เรื่อง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2538 ได้แก่ บทความเรื่อง ตำนานเรื่องสิงหนวัติฉบับวัดศรีโคมคำ พะเยา เรื่อง ความหมายของตำนานพระธาตุเจ้าดอยตุง เรื่อง เปลือกตำนานว่าด้วยพระร่วงเป็นชายชู้ เรื่อง พระเจ้าพรหมในตำนานของล้านนา เรื่อง ตำนานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 เรื่อง ตำนานต้นโพธิ์ เรื่อง ตำนานอุรังคธาตุ (พระธาตุพนม) เรื่อง ตำนานพยากรณ์ที่ผิดพลาด และเรื่อง ตำนานพระธาตุและเมืองนครศรีธรรมราช
ตำนานที่กล่าวถึงในบทความทั้ง 9 เรื่องนี้มีเนื้อหาและที่มาแตกต่างหลากหลาย มีทั้งตำนานเมือง ตำนานเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุในพุทธศาสนา ได้แก่ พระธาตุ ต้นโพธิ์ และพระพุทธรูป ตำนานเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ รวมทั้งตำนานต่างๆ ที่พบในเอกสารประวัติศาสตร์เช่นพระราชพงศาวดาร
ในแต่ละบทความ ผู้เขียนได้พยายามวิเคราะห์และอธิบายให้เห็นว่า ตำนานเหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคัมภีร์ คำสอน และคติความเชื่อทางพุทธศาสนา เช่น ความเจริญความเสื่อมของบ้านเมือง กัปกัลป์พุทธันดรกับต้นวงศ์กษัตริย์ ความคิดความเชื่อของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องการนับปีศักราช ไปจนถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์หรือการเมืองระหว่างอาณาจักรหรือเมืองโบราณต่างๆ เช่น ในบทความเรื่อง ความหมายของตำนานพระธาตุเจ้าดอยตุง ผู้เขียนวิเคราะห์ให้เห็นว่า การแสดงสิทธิธรรมของกษัตริย์ล้านนา ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองนั้น ไม่จำเป็นต้องสืบสายโลหิตจากพระเจ้าสมมติราชตั้งแต่คราวปฐมกัป ดังเช่นที่ปรากฏเป็นขนบในพงศาวดารของภาคกลาง ซึ่งทำให้เห็นปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองที่ต่างฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรมของตนเองหรือโต้แย้งกันโดยใช้คติความเชื่อที่มีที่มาจากคัมภีร์พุทธศาสนาอย่างไร
ตำนานบางตำนาน เราอาจไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า เหตุการณ์ที่ปรากฏในตำนานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่เมื่ออ่านวิเคราะห์ตำนานเรื่องนั้นดูประกอบกับการศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการเมืองของอาณาจักรโบราณ ก็อาจจะทำให้เข้าใจเหตุผลของการเขียนตำนานและเรื่องราวนั้นๆ ได้ เช่น ในบทความเรื่อง เปลือกตำนานว่าด้วยพระร่วงเป็นชายชู้ ซึ่งถือว่าเป็นเกร็ดของเรื่องราวในตำนานล้านนา ผู้เขียนได้วิเคราะห์อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่-เชียงราย สุโขทัย และพะเยา ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของตำนานที่ว่าพระร่วงแห่งสุโขทัยเป็นชู้กับชายาพระเจ้างำเมืองแห่งพะเยา และพระเจ้ามังรายแห่งเชียงใหม่-เชียงรายต้องเป็นผู้ตัดสินความ
ในบทความหลายเรื่อง ผู้เขียนชี้ให้เห็น “ข้อจำกัด” หรือ “อุปสรรค” ในการอ่านและทำความเข้าใจตำนาน ซึ่งผู้อ่านควรจะต้องคำนึงถึง เช่น ความชำรุดเสียหายของเอกสาร ความผิดพลาดของข้อความหรือชื่อเรื่องซึ่งเกิดจากการคัดลอกหรือพิมพ์ซ้ำ ความเก่าแก่ของภาษาหรือเนื้อหาที่เขียนอย่างวกวน ไปจนถึงการอ่านตำนานที่ผ่านการบอกเล่าด้วยคนๆ หนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องใช้ความอุตสาหะ ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าหาความหมายของถ้อยคำหรือค้นคว้าแหล่งข้อมูลหลักฐานอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจหรือตีความตำนานเรื่องนั้นๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากที่สุด เช่น ในบทความเรื่อง ตำนานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 แสดงให้เห็นว่าการอ่านตำนานที่ถ่ายทอดโดยวันวลิต ซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่งนั้น จะต้องใช้ความรู้ที่กว้างขวางเกี่ยวกับตำนานและประวัติศาสตร์ เพื่อตรวจสอบหรือสืบสวนว่าตำนานเหล่านั้นตรงกับพงศาวดารหรือตำนานของไทยเรื่องอะไร และมีข้อผันแปรไปอย่างไรบ้างหรือไม่ ในขณะเดียวกัน การอ่านข้อเขียนของวันวลิต อาจจะทำให้เราได้ทราบเรื่องบางเรื่องที่ไม่เป็นที่เปิดเผยชัดในเอกสารอื่นๆ ก็เป็นได้
หนังสือรวมบทความเรื่อง ตำนาน ของอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์เล่มนี้จึงมีประโยชน์ต่อนักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจ ในฐานะที่เป็นหนังสือที่ไม่เพียงแต่เสนอแนวทางในการอ่านตำนานอย่างเป็นวิชาการ ด้วยความ “ระมัดระวัง” อันกอปรขึ้นจากความรู้ที่เป็นพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม ความคิดความเชื่ออย่างกว้างขวางเท่านั้น แต่ยังนำเสนอทำให้ผู้อ่านได้คิดวิเคราะห์และเข้าใจ “สาระ” หรือ “ความรู้สึกนึกคิด” ของคนโบราณในตำนานของไทยที่มีอยู่อย่างหลากหลายอีกด้วย
(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2556 – มกราคม 2557) หน้า 281-284)