วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารไทยศึกษา

วารสารไทยศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับไท-ไทศึกษา ในลักษณะสหวิทยาการเพื่อสร้างพลวัตและความเป็นเลิศแห่งความรู้ไทย-ไทศึกษา และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการด้านไทย-ไทศึกษาในกลุ่มคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนนิสิตนักศึกษา และผู้สนใจ

 

วารสารไทยศึกษาเป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ รับพิจารณาบทความวิจัยและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับไทย-ไทศึกษาในหลากหลายสาขา ทั้งภาษาและวรรณคดีไทย วรรณคดีท้องถิ่น วรรณคดีเปรียบเทียบ คติชนวิทยา การเรียนและการสอนภาษาไทย ศิลปกรรมศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา ประวัติศาสตร์ มานุษวิทยา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา โดยบทความที่ติพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในระบบ double blind review

 

วารสารไทยศึกษาเป็นวารสารราย 6 เดือน (2 ฉบับต่อปี)

– ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน

– ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

 

 

ระบบส่งบทความออนไลน์

 

 

ติดต่อวารสาร :

 

กองบรรณาธิการวารสารไทยศึกษา

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 9

แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน

กรุงเทพฯ 10330

 

chula.its.journal@gmail.com

หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารไทยศึกษา

– เป็นบทความทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวกับไท–ไทยศึกษา เพื่อองค์ความรู้ใหม่ หรือทบทวนภูมิปัญญาของคนไท–ไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป

 

– เป็นบทความภาษาไทย ความยาวประมาณ 30 หน้ากระดาษ A5 ขนาดอักษร Angsana New 14 พร้อมทั้งแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

 

– ส่งบทความพร้อมบทคัดย่อในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล เลือกส่งได้หลายช่องทาง โดยส่งด้วยตัวเอง, ส่งไฟล์มาที่ E-mail : chula.its.journal@gmail.com  หรือส่งบทความฉบับพิมพ์มาที่ กองบรรณาธิการวารสารไทยศึกษา สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 9 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

– วารสารไทยศึกษาเปิดรับบทความตลอดปี 

 

– ต้องระบุชื่อบทความ ชื่อ-นามสกุลจริง และประวัติโดยย่อของผู้เขียนบทความ พร้อมวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และสถานที่ทำงานอย่างชัดเจน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

– บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และกำหนดคำสำคัญ (keywords) อย่างน้อย 3-5 คำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

– หากบทความมีตารางหรือแผนภูมิประกอบ ให้แนบไฟล์ภาพตาราง หรือแผนภูมิมาพร้อมกับบทความด้วย

 

– หากบทความมีตัวอักษร หรือสัญลักษณ์พิเศษ ให้แนบข้อมูลของตัวอักษรหรือสัญลักษณ์พิเศษมาพร้อมกับบทความด้วย

 

– ภาพถ่ายที่ใช้ประกอบในบทความ ควรระบุแหล่งที่มา ในกรณีที่ผู้วิจัยถ่ายภาพเองให้ระบุวัน เดือน ปีที่บันทึกภาพ

 

– การอ้างอิง ใช้ระบบการอ้างอิงแบบนามปี (author date system) และระบุบรรณานุกรมเรียงตามลำดับตัวอักษร ตามระบบการอ้างอิง APA ท้ายบทความ

 

– ทุกบทความจะได้รับการประเมินคุณภาพของบทความ ทั้งในด้านเนื้อหา และความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ โดยระบบ triple – blind review

 

– กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการไม่ส่งคืนต้นฉบับ เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ แก่ผู้เขียนบทความในทุกกรณี ยกเว้นการแก้ไขภาษา และระบบอ้างอิงของบทความ

 

– บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารไทยศึกษา การเผยแพร่หรือนำไปใช้ในการอ้างอิงแหล่งที่มาจากวารสาร ต้องได้รับคำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้จัดการวารสารเท่านั้น

รูปแบบการอ้างอิงสำหรับวารสารไทยศึกษา

การอ้างอิงในเนื้อความสำหรับวารสารไทยศึกษา ให้ใช้ระบบการอ้างอิงแบบนามปี

 

 

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text)

 

การอ้างอิงแบบนี้ ใช้กับข้อความที่คัดลอกมาหรือประมวลมา เป็นการเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหา โดยระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ ในกรณีเป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรง หรือแนวคิดบางส่วน หรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยพิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)

 

อย่างไรก็ตาม การไม่ระบุเลขหน้าอาจทำได้ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงงานของผู้อื่น โดยการสรุปเนื้อหาหรือแนวคิดทั้งหมดของงานชิ้นนั้น การอ้างอิงแบบแทรก ในเนื้อหาเป็นระบบนาม-ปี ให้ข้อมูลผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้าที่มีข้อความที่อ้างถึง รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา มีดังนี้

 

(ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง เช่น

 

(สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 200-205)

 

(McCartney &Phillips, 2006, pp. 498-499)

 

 

 

คู่มือการทำรายการอ้างอิง

 

คู่มือการทำรายการอ้างอิง.pdf

 

 

ตัวอย่างบทความ วารสารไทยศึกษา.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณาธิการวารสารไทยศึกษา

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปราณี กุลละวณิชย์
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค
ภาคีสมาชิก สาขาประวัติศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ประคอง นิมมานเหมินท์
ราชบัณฑิต สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน ราชบัณฑิตสถาน

 

ศาสตราจารย์ ดร. ศิราพร ณ ถลาง
เมธีวิจัยอาวุโส ปี 2554 ผู้อำนวยการศูนย์ไทยศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รองศาสตราจารย์ ฤทธิรงค์ จิวกานนท์
ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จริยธรรมในการตีพิมพ์

จริยธรรมของบรรณาธิการ

 

1. ยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ตามเกณฑ์ของวารสารโดยไม่ใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล แต่พิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ

 

2. ให้เสรีภาพแก่ผู้นิพนธ์บทความในการแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชา และคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ

 

3. รักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำวารสารทั้งผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ

 

4. ตรวจสอบและพิจารณาเนื้อหาและคุณภาพของบทความร่วมกับกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำวารสารก่อนการตีพิมพ์

 

5. รักษามาตรฐานของวารสารและพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

 

 

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewers)

 

1. มีความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญตามศาสตร์ของตน เพื่อพิจารณายอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ด้วยความเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักวิชาในศาสตร์นั้น ๆ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว รวมทั้งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความ

 

2. ตรงเวลา

 

3. รักษาความลับของผู้นิพนธ์บทความ

 

4. ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำวารสาร

 

 

จริยธรรมของผู้นิพนธ์บทความ

 

1. มีการคิด ค้นคว้า ทบทวน วิเคราะห์ สรุป เรียบเรียง และอ้างอิงข้อมูล โดยผู้เขียนเอง กองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ

 

2. ซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ให้เกียรติโดยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในการเขียนบทความ

 

3. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในผลงานวิชาการนี้จริง

 

4. เคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขบทความตามคำแนะนำให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารและตามมาตรฐานทางวิชาการ

 

5. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอ เพื่อขอรับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว

เชิญชวนส่งบทความพิจารณาตีพิมพ์วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (เผยแพร่ธันวาคม 2565)

วารสารไทยศึกษา (อ้างอิงใน TCI กลุ่ม 1) ขอเชิญชวนอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการส่งบทความเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีไทย วรรณคดีท้องถิ่น วรรณคดีเปรียบเทียบ คติชนวิทยา การเรียนและการสอนภาษาไทย ศิลปกรรมศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา ประวัติศาสตร์ มานุษวิทยา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา  เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (เผยแพร่ธันวาคม 2565)

 

ทุกบทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านตามเกณฑ์ขอตำแหน่งทางวิชาการ 

 

รายละเอียดเกี่ยวกับวารสารไทยศึกษา : www.thaistudiesjournal.org

 

ส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/TSDJ/index

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อผู้ประสานงาน

อภิรดา งามวงศ์สกลเลิศ  (065-9094559)

หรืออีเมล์ chula.its.journal@gmail.com

การปรับหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความวารสารไทยศึกษา

 

วารสารไทยศึกษาเป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์บทความทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวกับไท–ไทยศึกษา เพื่อองค์ความรู้ใหม่ หรือทบทวนภูมิปัญญาของคนไท–ไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป วารสารเผยแพร่องค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ในปัจจุบันวารสารเผยแพร่ทั้งในรูปแบบรูปเล่มและในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) ก่อนรับบทความตีพิมพ์เผยแพร่

 

ทางวารสารขอแจ้งว่าตั้งแต่วันที่  15 กรกฏาคม 2564 เป็นต้นไป วารสารจะปรับหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความมาจากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 คน เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เพื่อให้ผู้เขียนสามารถนำผลงานไปใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้ตามประกาศ

 

ลิงก์ประกาศ ก.พ.อ. : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/149/T_0019.PDF
 

ประกาศ ก.พ.อ..PDF